วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สาระที่ ๗   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗.          เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1.  สังเกตและอธิบายการเกิดทิศ  และปรากฏการณ์การขึ้นตกของดวงดาวโดยใช้แผนที่ดาว
1.    การ ที่โลกหมุนรอบตัวเองนี้ทำให้เกิดการกำหนดทิศ โดยโลกหมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกา จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก เมื่อสังเกตจากขั้วโลกเหนือจึงปรากฎให้เห็นดวงอาทิตย์และดวงดาวต่าง ๆ ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
2.    แผนที่ดาวช่วยในการสังเกตตำแหน่งดาวบนท้องฟ้า
       ตั้งคำถาม การสังเกต สืบค้นข้อมูล บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลและอธิบายการเกิดทิศและปรากฏการณ์การขึ้นตกของดวงดาวโดยใช้แผนที่ดาว   ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์แผนที่ดาวแล้วนำเสนอผลงานได้

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( COMPUTER ASSISTED )


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( COMPUTER ASSISTED  )

CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1.       สารสนเทศ (Information)
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2.       ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3.       การโต้ตอบ (Interaction)
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4.       การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ (CAI)           
      1. ประเภทการสอน (Tutorial)  เป็นแบบผู้ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่สอน  โดยเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษา  ต่อจากนั้นจะมีการตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ  หากตอบไม่ได้ก็จะได้รับคำแนะนำเนื้อหานั้นใหม่  และให้ตอบคำถามใหม่จนกว่าจะเข้าใจ  โปรแกรมจะเสนอบทเรียนใหม่และเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ  ซึ่งคำตอบอาจตอบได้หลายวิธี  เป็นประเภท CAI ที่นิยมใช้กันมากที่สุด               
     2. ประเภทฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practice)  เป็นการให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหานั้น ๆ แล้ว หรือมีการฝึกซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดทักษะหรือเป็นการแก้ปัญหาแบบท่องจำ  เช่นการฝึกท่องจำคำศัพท์ ฝึกบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น                
      3. ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)  CAI แบบนี้ออกแบบเพื่อสอนเนื้อหาใหม่และทบทวนหรือเสริมในสิ่งที่ได้เรียนหรือทดลองไปแล้ว  โดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นการเลียนแบบหรือจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความจริง หรือตามธรรมชาติ
      4. ประเภทเกม (Game)  เป็นการเรียนรู้จากการเล่น  อาจจะเป็นประเภทให้แข่งขันเพื่อไปสู่ชัยชนะ หรือเป็นประเภทเกมความร่วมมือ คือ เล่นเป็นทีมเพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม  อาจใช้เกมในการสอนคำศัพท์ เกมการคิดคำนวณ หรือเกมจับผิด  เป็นต้น
     5. ประเภทการทดลอง (Tests)  เพื่อทดสอบผู้เรียนโดยตรงหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหาหรือฝึกปฏิบัติได้แล้ว  โดยผู้เรียนจะทำแบบทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์  ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์รับคำตอบแล้วก็จะบันทึกผล  ประมวลผลตรวจให้คะแนน  และเสนอผลให้ผู้เรียนทราบทันทีที่ทำข้อสอบเสร็จ

              บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ ดังนั้น ก่อนที่จะนำสื่อไปทำการเผยแพร่เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการหาประสิทธิภาพของ CAI เพื่อที่จะได้รู้ว่าสื่อที่ทำออกมานั้น มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ จะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์ หาค่าคุณภาพเครื่องมือก่อนทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือนั้นมีเกณฑ์มาตรฐานได้ผลการวัดที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ คุณภาพบางด้านเมื่อสร้างเครื่องมือเสร็จ ก็สามารถตรวจสอบได้ทันที เช่นความเป็นปรนัย แต่คุณภาพบางด้าน เช่น ความเที่ยงตรง ความยากง่าย อํานาจจําแนก ความเชื่อมั่นจะต้องนําเครื่องมือนั้นไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มทดลองเครื่องมือ แล้วนําผลมาวิเคราะห์หาค่า คุณภาพ ถ้าปรากฏว่าค่าคุณภาพ ด้านต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้  ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขและนําไปทดลองใหม่จนแน่ใจว่าได้ค่าคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนดในการวัดผลการเรียนรู้ผู้สอนต้องมีความแน่ใจว่าเครื่องมือที่วัดนั้นมีคุณภาพดีพอ  ก่อนนําไปใช้จริง ซึ่งลักษณะของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 
1.       มีความเที่ยงตรง ( validity ) ค่า IOC แต่ละข้อต้องมีค่ามากกว่า 0.5 ซึ่งหมายถึงวัดได้ตรงตามจุดประสงค์ของการวัด
2.     มีความเชื่อมั่น ( Reliability ) ของแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่าไม่ต่ำกว่า 0.7 ซึ่งแสดงว่าเครื่องมือวัดให้ผลการวัดที่สม่ำเสมอ แน่นอน คงที่ แม้จะวัดกี่ครั้งก็ตาม
3.     มีความเป็นปรนัย หมายถึง เครื่องมือวัดที่มีข้อความชัดเจน การตรวจให้คะแนนมีมาตรฐานสามารถแปลความหมายพฤติกรรมได้ตรงกัน ไม่ว่าใครจะเป็นผู้วัดหรือผู้ตรวจ
4.       มีค่าความยากระหว่าง 0.2 - 0.8 (ไม่ควรยากเกินไปและไม่ง่ายเกินไป)
5.       มีค่าอํานาจจําแนกระหว่าง 0.2 – 1.0 (ค่ายิ่งมากยิ่งดี ค่าที่คํานวณได้จะอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1) 

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนรู้เเบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Learning)


การเรียนรู้เเบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Learning)


             

           “เพื่อนช่วยเพื่อน” หรือ “Peer Assist” เป็นการจัดการความรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม (Learning Before Doing) เพื่อแสวงหาผู้ช่วยที่มีความแตกต่าง มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ เพื่อขยายกรอบความคิดให้กว้างและมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น โดยอาศัย “คน” เป็นธงนำ (People Driven) เปิดมุมมองความคิดที่หลากหลายจากการแลกเปลี่ยนระหว่างทีมที่มีทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่มองอะไรเพียงด้านเดียว

ความเป็นมา
            “เพื่อนช่วยเพื่อน” (Peer Assist) เป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใช้ครั้งแรกที่บริษัท BP-Amoco ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของประเทศอังกฤษ โดยการสร้างให้เกิดกลไกการเรียนรู้ประสบการณ์ผู้อื่น ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์หรือร่วมวิชาชีพ (peers) ก่อนที่จะเริ่มดำเนินกิจกรรมหรือโครงการใดๆ ทั้งนี้ความหมายของ “เพื่อนช่วยเพื่อน” จะเกี่ยวข้องกับ
            - การประชุมหรือการปฏิบัติการร่วมกันโดยมีผู้ที่ได้รับเชิญจากทีมภายนอก หรือทีมอื่น (ทีมเยือน) เพื่อมาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ กับทีมเจ้าบ้าน (ทีมเหย้า) ที่เป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือ- เครื่องมือสำหรับแบ่งปันประสบการณ์ ความเข้าใจ ความรู้ ในเรื่องต่างๆ
            - กลไกสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างบุคคลสำหรับข้อดีของการทำ Peer Assist นั้น ได้แก่
                        -- เป็นกลไกการเรียนรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม (Learning Before Doing) ผ่านประสบการณ์ผู้อื่น เพื่อให้รู้ว่าใครรู้อะไร และไม่ทำผิดพลาดซ้ำในสิ่งที่เคยมีผู้ทำผิดพลาด ตลอดจนเรียนลัดวิธีการทำงานต่าง ๆ ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนจากประสบการณ์ของทีมผู้ช่วยภายนอก
                        -- ช่วยให้ทีมเจ้าบ้านได้ความช่วยเหลือ ความคิดเห็น และมุมมองจากทีมผู้ช่วยภายนอก ซึ่งอาจนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาหรือการทำงานใหม่ๆ

 แนวคิดทฤษฎี
            เมื่อจะเริ่ม "ลงมือทำ" เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราไม่เคยทำ หรือไม่สันทัด หรือยังได้ผลไม่เป็นที่พอใจ ขั้นตอนแรกของการจัดการความรู้คือหาข้อมูล (ความรู้) ว่าเรื่องนั้นๆ มีบุคคลหรือกลุ่มคน ที่ไหน หน่วยงานใด ที่ทำได้ผลดีมาก (best practice) และถือเป็นกัลยาณมิตร (peers) ที่อาจช่วยแนะนำหรือให้ความรู้เราได้ กัลยาณมิตรนี้อาจเป็นเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานเดียวกัน อาจเป็นหน่วยงานอื่นในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นคนที่อยู่ในองค์กรอื่นก็ได้ แล้วติดต่อขอเรียนรู้วิธีทำงานจากเขา ไปเรียนรู้จากหน่วยงาน จะโดยวิธีไปดูงาน โทรศัพท์หรือ e-mail ไปถาม เชิญมาบรรยาย หรือวิธีอื่นๆ ก็ได้ หลักคิดในเรื่องนี้ก็คือ มีคนอื่นที่เขาทำได้ดีอยู่แล้ว ในเรื่องที่เราอยากพัฒนาหรือปรับปรุง ไม่ควรเสียเวลาคิดขึ้นใหม่ด้วยตนเอง ควร "เรียนลัด" โดยเอาอย่างจากผู้ที่ทำได้ดีอยู่แล้ว เอามาปรับใช้กับงานของเรา แล้วพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ย้ำว่าการเรียนรู้จากกัลยาณมิตรนี้จะต้องไม่ใช่ไปลอกวิธีการของเขามาทั้งหมด แต่ไปเรียนรู้แนวคิดและแนวปฏิบัติของเขาแล้วเอามาปรับปรุงใช้งานให้เหมาะสมต่อสภาพการทำงานของเรา

วิธีการแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน
          วิธีการแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” สามารถทำได้ ดังนี้
            1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ทำไปเพื่ออะไร อะไรคือต้นตอของปัญหาที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
            2. ตรวจสอบว่าใครที่เคยแก้ปัญหาที่เราพบมาก่อนบ้างหรือไม่ โดยทำแจ้งแผนการทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ของทีมให้หน่วยงานอื่นๆ ได้รับรู้ เพื่อหาผู้ที่รู้ในปัญหาดังกล่าว
            3. กำหนด Facilitator (คุณอำนวย) หรือผู้สนับสนุน และอำนวยความสะดวกในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
            4. คำนึงถึงการวางตารางเวลาให้เหมาะสมและทันต่อการนำไปใช้งาน หรือการปฏิบัติจริง โดยอาจเผื่อเวลาสำหรับปัญหาที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้น
            5. ควรเลือกผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย (Diverse) ทั้งด้านทักษะ (Skill) ความสามารถ/ความเชี่ยวชาญ (Competencies) และประสบการณ์ (Experience) สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 6-8 คนก็เพียงพอ
            6. มุ่งหาผลลัพธ์หรือสิ่งที่ต้องการได้รับจริงๆ กล่าวคือ การทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” นั้นจะต้องมองให้ทะลุถึงปัญหา สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง มากกว่าที่จะใช้คำตอบสำเร็จรูปทางใดทางหนึ่ง
            7. วางแผนเวลาสำหรับการพบปะสังสรรค์ทางสังคม หรือการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ (นอกรอบ)
            8. กำหนดบทบาทของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน ตลอดจนสร้างบรรยากาศ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
            9. แบ่งเวลาที่มีอยู่ออกเป็น 4 ส่วน คือ
  - ส่วนแรกใช้สำหรับทีมเจ้าบ้านแบ่งปันข้อมูล (Information) บริบท (Context) รวมทั้งแผนงานในอนาคต
  - ส่วนที่สองใช้สนับสนุน หรือกระตุ้นให้ทีมผู้ช่วยซึ่งเป็นทีมเยือนได้ซักถามในสิ่งที่เขาจำเป็นต้องรู้
  - ส่วนที่สาม ใช้เพื่อให้ทีมผู้ช่วยซึ่งเป็นทีมเยือนได้นำเสนอมุมมองความคิด เพื่อให้ทีมเจ้าบ้านนำสิ่งที่ได้ฟังไปวิเคราะห์
  - ส่วนที่สี่ ใช้สำหรับการพูดคุยโต้ตอบ พิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
                   
           

การเรียนรู้เเบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)


การเรียนรู้เเบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)

แนวคิดในการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learning
         การจัดการเรียนรู้แบบทีม (Team-Based Learning) หรือการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐานเป็น
รูปแบบการสอนที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนา โดยนักการศึกษาชาวอเมริกา คือ Larry K. Michaelsen จาก University of Oklahomaต่อมามีผู้สนใจนำไปใช้แพร่หลาย โดยโรงเรียนแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 77 แห่งใช้วิธีนี้ รวมทั้งโรงเรียนพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆด้วยเป้าหมายของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learningมีดังนี้
1. สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักของรายวิชา
2. พัฒนาความสามารถด้านการคิด และการแก้ปัญหา
3. เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ส่งเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้

หลักการสำคัญ 4 ประการ ของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learning 
1. Group Formation มีการจัดทีมอย่างเหมาะสม คือ แบ่งทีมย่อย ตามทักษะและความสามารถ
อย่างหลากหลาย กลุ่มละ 7-12 คนและควรเป็นทีมถาวร
แนวทางการจัดการเรียนรู้: ร่วมจัดทีมอย่างเป็นทางการในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน
   1.1 ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดคุณลักษณะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่นทักษะผู้นำ การ
สืบค้น การคิดวิเคราะห์การนำเสนอ เป็นต้น
   1.2 ครูช่วยดูแลการจัดกลุ่มเพื่อลดปัญหาด้านความขัดแย้ง และการเลือกปฏิบัติ การไม่แยก
ออกจากกลุ่มเพื่อน ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้การท างานต่างวัฒนธรรม ต่างความคิด ต่างมุมมอง
   1.3 จัดคนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมา ตามข้อ 1.1 ให้มีการกระจายคุณสมบัติที่จำเป็นของ
ผู้เรียนครบทุกกลุ่ม
   1.4 การจัดกลุ่มควรเป็นกลุ่มถาวร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการตามลำดับปัญหาที่พบ
ในแต่ละกลุ่ม
2. Accountable ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน การช่วยเหลือกันในการทำงานของทีมโดยต้องร่วมรับผิดชอบทั้งในงานส่วนตัวและงานกลุ่มแนวทางการจัดการเรียนรู้: มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้า หรือจัดให้มีการศึกษารายเดี่ยวก่อนเข้ากลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
   2.1 มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้าด้วยการกำหนดขอบเขตหรือเป้าหมายของ
การศึกษาให้ชัดเจน
   2.2 ทำแบบทดสอบรายเดี่ยวก่อนการเรียนรู้เพื่อทดสอบและกระตุ้นการเตรียมความพร้อมของ
ผู้เรียนก่อนการเข้าแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
   2.3 นำแบบทดสอบเข้าไปปรึกษาในกลุ่ม อภิปรายเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดจากกลุ่ม
กระบวนการนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกัน ก่อนได้คำตอบของกลุ่ม
   2.4 สะท้อนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านกลุ่ม
   2.5 ครูสะท้อนความคิด และให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่กลุ่มอภิปรายแล้วมีข้อขัดแย้ง ไม่
ชัดเจนหรือไม่ครอบคลุมและเสริมแรงในกรณีที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมาะสม
3. Assignment Quality การมอบหมายงานจะต้องเน้นทั้งด้านผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายรายวิชาที่กำหนดไว้และด้านผลจากการท างานเป็นทีมแนวทางการจัดการเรียนรู้:มอบหมายใบงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน ที่เน้นทั้งเป้าหมายวิชาและกระบวนการกลุ่ม
   3.1 การมอบหมายงานต้องเน้นการเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กลุ่ม
   3.2 มอบหมายสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้ทีมได้ตัดสินใจภายใต้แนวคิดและ
วัตถุประสงค์ของรายวิชาที่เรียนรู้
 ทั้งนี้ลักษณะของงานที่มอบหมายในการเรียนรู้ ควรประกอบด้วยหลักการ 4 Ss
      3.2.1 Significant Problem เป็นปัญหาที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้นั้น
      3.2.2 Same Problem ปัญหาเดียวกันในทุกกลุ่ม
      3.2.3 Specific Choice มีทางเลือกหรือแนวทางแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง
      3.2.4 Simultaneous Reporting รายงานพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน
   3.3 การนำเสนอผลการเรียนรู้ อาจจะเป็นการนำเสนอปากเปล่าหรือรายงานก็ได้ แต่ต้องไม่
ยุ่งยากซับซ้อน หรือใช้เวลาในการเรียนการสอนมากเกินไป
   3.4 นอกจากการอภิปรายในกลุ่มแล้ว ควรจัดให้มีการอภิปรายระหว่างกลุ่มด้วย
4. Timely feedback ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการ feedback อย่างทันเวลาและสม่ำเสมอ
แนวทางการจัดการเรียนรู้:ประเด็นในการ feedback ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ
ครอบคลุมทั้งผลการเรียนรู้และผลของกระบวนการกลุ่ม
   4.1 ผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาของทีม
   4.2 การ feedback ต้องเกิดขึ้นทันทีหลังจากกระบวนกลุ่มทุกครั้ง
   4.3 การ feedback ต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดกระบวนการเรียนรู้และมีการติดตาม
พัฒนาการในการทำงานเป็นทีมแต่ละประเด็นที่เคยเป็นปัญหาทั้งนี้กระบวนการในการ
ประเมินผลและสะท้อนคิดมีจุดเน้นดังนี้
      4.3.1 ให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายรายวิชา
      4.3.2 ให้ผู้เรียนสะท้อนตนเองและกลุ่มเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม
      4.3.3 ผู้สอนสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
      4.3.4 การประเมินผลการเรียนรู้ควรประเมินครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตาม
เป้าหมายรายวิชาและครอบคลุมทักษะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การ
คิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และอื่นๆ

การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (ResearchBased Learning)



การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (ResearchBased Learning)

         การสอนแบบวิจัยเป็นฐานมีแนวทาง 4 แนวทาง ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระวิชา วัตถุประสงค์ สถานการณ์ และศักยภาพของผู้เรียน ดังนี้
แนวที่ 1 ผู้สอนเป็นคนอ่านงานวิจัย และนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของตนเองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น นำเนื้อหาที่เป็นผลการวิจัยมาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ หรือมาเล่าให้ผู้เรียนฟังเป็นการเรียน
แนวที่ 2 ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ การเป็นผู้บริโภคงานวิจัย ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่ต้องเลือกงานวิจัยที่เหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของผู้เรียน หรือผู้สอนอาจต้องทำหน้าที่ในการสรุปย่องานวิจัยให้มีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
แนวที่ 3 ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการสอน คือ ผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเข้าไปช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอนหรือใช้บางขั้นตอนตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ วัตถุประสงค์และข้อจำกัดที่มี
แนวที่ 4 ให้ผู้เรียนลงมือทำวิจัยด้วยตนเอง โดยผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยต่างๆ อย่างมีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

           การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL)

         การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันมุ่งการพัฒนาการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญโดยนำเอาการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้หรือจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย โดยมีเชื่อว่าการวิจัยเป็นกระบวนการสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้ บทความนี้จะได้เสนอแนวคิดและวิธีการของการจัดการศึกษาแบบ RBL เพื่อจะได้เกิดแนวคิดและแนวทางการในการนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป

1.บทนำเข้าสู่การจัดการศึกษาแบบ RBL
          เอกสารนี้ต้องการเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนแบบ RBL เพื่อให้อาจารย์ของสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้ใช้เป็นแนวให้การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตามแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้แห่งนัยของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 โดยขอเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับ(ก)นิยาม(ข)เหตุผล (ค)ลักษณะ (ง)ทฤษฎี (จ)รูปแบบ(ฉ)วิธีการจัด การศึกษาแบบ RBL ตามลำดับ

2.นิยามของการจัดการศึกษาแบบRBL
          การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
          การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบ RBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ ‘การวิจัยเข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน 

3.เหตุผลของการจัดการศึกษาแบบRBL
    รศ.ดร.ไพทูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ‘การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐานว่า ’การจัดการเรียนรู้แบบเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ได้ เมื่อก่อนสถาบันอุดมศึกษาผลิตคนแบบจำทำเพื่อไปทำงานในระบบราชการ แต่ปัจจุบันการอุดมศึกษาต้องผลิตคนแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้สูงไปให้แก่ระบบธุรกิจ การเรียนการสอนแบบพูดบอกเล่า’ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใหม่ของอุดมศึกษาได้อีกต่อไป
    ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวว่าในหนังสือชื่อ ‘การศึกษาที่มีการวิจัยเป็นฐาน’ ว่าการวิจัยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถสร้างคุณลักษณะหลายอย่างที่การศึกษาต้องการได้ การวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนบุคคลให้ตั้งอยู่บนฐาน ข้อมูลและเหตุผล มีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และเกิดนวัตกรรมได้ ขั้นตอนของการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงความรู้ การประเมินความเชื่อได้ของความรู้ การตีค่า ความอิสระทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองย่อมนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น

4. ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ RBL
          ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ หลักการที่1.แนวคิดพื้นฐาน
เปลี่ยนแนวคิดจากเรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’ หลักการที่2.เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจากการเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหาหลักการที่3.วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’ การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’ หลักการที่4.บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ 

5. ทฤษฎีเบื้องหลังการจัดการศึกษาแบบ RBL
          การวิจัยเป็นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ใหม่ การใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ก็เพื่อต้องการผลจากการวิจัย 2 ประการ คือ
(1)ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ตามแนวคิดของ(ก)การจัดการศึกษาแบบConstructivism ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองจากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่บุคคลมีอยู่เดิม หรือ(ข)แนวคิดของ Experience Learningที่ว่า Experience learning takes the student out of the detached role of a vicarious learner and plunges her into the role of participant observer, performer, or even teacher หรือ(ค)แนวคิดของการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ว่า องค์ความรู้หรือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจะมีคุณค่าและถาวรมากกว่าถ้าผู้เรียนเปลี่ยนจากการเรียนแบบรับ(passive learning)มาเป็นแบบรุก(active learning)
(2)ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่การศึกษาต้องการประกอบด้วยการเป็นผู้ไฝ่รู้ การเป็นผู้มีวิธีการแสวงหาความรู้ การเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเป็นผู้คิดอย่างอิสระไม่ต้องพึ่งพา การเป็นผู้นำตนเองและผู้อื่น อันเป็นคุณลักษณะที่การศึกษาพึงประสงค์

6. รูปแบบของการจัดการศึกษาแบบ RBL
          การจัดการศึกษาแบบ RBL นั้นมีรูปแบบการจัดการศึกษาดังนี้
             ก. RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน ประกอบด้วย
(1)เรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน
(2)เรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานการวิจัย
             ข. RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย
(3)เรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย
(4)เรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย
(5)เรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย
(6)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก
(7)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...