วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ



การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ

          นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอ  แนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสนองของไทยมาตลอด  ในหนังสือนี้ได้ประมวลแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอ ได้แก่
          1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย  สาโรช  บัวศรี
          2. กระบวนการกัลยาณมิตร  โดย  สมุน  อมรวิวัฒน์
          3. กระบวนการทางปัญญา  โดยประเวศ  วะสี
          4. กระบวนการคิด  โดย ชัยอนันต์  สมุทวณิช
          5. กระบวนการคิด  โดย เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
          6. มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดย  ทิศนา  แขมมณี และคณะ
          7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย  โกวิท  ประวาลพฤกษ์
          8. กระบวนการต่าง ๆ  โดย  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ
                   8.1 ทักษะกระบวนการ  9  ขั้น
                   8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
                   8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
                   8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
                   8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
                   8.6 กระบวนการปฏิบัติ
                   8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
                   8.8 กระบวนการเรียนภาษา
                   8.9 กระบวนการกลุ่ม
                   8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
                   8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
                   8.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
          1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช  บัวศรี
          สาโรช  บัวศรี  (2526) มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า  20ปีมาแล้ว  โดยการประยุกต์หลักอริยสัจ  4  อันได้แก่  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  และมรรค  มาใช้เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหา  โดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่า  “กิจในอริยสัจ 4 ”  อันประกอบด้วยปริญญา  (การกำหนดรู้)  ปหานะ  (การละ) สัจฉิกิริยา  (การทำให้แจ้ง)  และภาวนา  (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ)
          2. กระบวนการกัลยณมิตร  โดย  สุมน  อมรวิวัฒน์
          สุมน  อมรวิวัฒน์ (2524 :  196 - 199)  ราชบัณฑิต   สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  สาขาการศึกษาคณะครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ได้อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตรไว้ว่า  เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  1. ชี้ทางบรรเทาทุกข์   2.  ชี้สุขเกษมศานติ์ กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์  ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน  8  ขั้นด้วยกันดังนี้
          2.1  หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ได้แก่  การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรัก  เป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้  มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
          2.2  การกำหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
          2.3  การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา  (ขั้นสมุทัย)
          2.4  การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญญา  (ขั้นสมุทัย)
          2.5  การกำหนดจุดหมาย หรือสภาวะพ้นปัญญา  (ขั้นนิโรธ)
          2.6  การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้การแก้ปัญหา  (ขั้นนิโรธ)
          2.7  การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา  (ขั้นนิโรธ)
          2.8  การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง  (ขั้นมรรค)

3. กระบวนการทางปัญญา  โดย  ประเวศ  วะสี
ประเวศ  วะสี (2542)  นักคิดคนสำคัญของประเทศไทย  ผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น  ท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญา  ซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียน  ประกอบด้วยขั้นตอน  10  ขั้น ดังนี้
          3.1  ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่าง ๆ  ให้มาก  ให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          3.2  ฝึกบันทึก  ให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่าง ๆ  และจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
          3.3  ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม  เมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตหรือทำอะไร หรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
          3.4  ฝึกการฟัง  การฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มาก  ผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
          3.5  ฝึกปุจฉา วิสัชนา  ให้ผู้เรียนฝึกการถาม –  การตอบ  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้ง  ในเรื่องที่ศึกษา  รวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล  การวิเคราะห์และการสังเคราะห์
          3.6  ฝึกการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม
          3.7  ฝึกการค้นหาคำตอบ
          3.8  ฝึกการวิจัย
          3.9  ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ
          3.10  ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ
4. กระบวนการคิดโดย   ชัยอนันต์  สมุทวณิช
ชัยอนันต์  สมุทวณิช  (2542 :  4 - 5)  นักรัฐศาสตร์  และราชบัณฑิต  สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง  และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย  ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจิงจัง   ลักษณะของนักคิดทั้ง  4  แบบดังนี้ 
          4.1  การคิดแบบนักวิเคราะห์  (analytical)
          4.2  การคิดแบบรวบยอด  (conceptual)
          4.3 การคิดแบบโครงสร้าง  (structural  thinking)
          4.4  การคิดแบบผู้นำสังคม   (social   thinking )

5.  มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดย  ทิศนา  แขมมณี  และคณะ

ทิศนา  แขมมณี  และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้  6  ด้านคือ 
          5.1  มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด  การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้  จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย  2  ส่วน  คือ  เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด
          5.2  มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการคิด  ได้แก่  คุณสมบัติส่วนบุคคล  ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิด
          5.3  มิติด้านทักษะการคิด  หมายถึง  กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด     
          5.4  มิติด้านลักษณะการคิด
          5.5  มิติด้านกระบวนการคิด
          5.6  มิติด้านการครบคุมและประเมินการคิดของตน
          กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          1. สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
          2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
          3. สามารถประมวลข้อมูล  ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง  และความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิด  ทั้งทางด้านกว้าง  ทางลึก  และไกล
          4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล  และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
          5. สามารถประเมินข้อมูลได้
          6.สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล  และเสนอคำตอบ/ทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้
          7. สามารถเลือกทางเลือก/ลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
6.  กระบวนการคิดโดย เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์  (2542 ข : 3 - 4)  ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนาต่อไปได้โดยไม่เสียเปรียบ  ไม่ถูกหลอกง่าย  และสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้  เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย “คิดเป็น”  คือรู้จักวิธีการคิดที่ถูกต้อง  และท่านได้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิด  10 มิติ  ดั้งนี้
          มิติที่ 1  ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์
          มิติที่ 2  ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์
          มิติที่ 3  ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์
          มิติที่ 4  ความสามารถในเชิงเปรียบเทียบ
          มิติที่ 5  ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์
          มิติที่ 6  ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์
          มิติที่ 8  ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์
          มิติที่ 9  ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ
          มิติที่ 10  ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต
7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม  โดย  โกวิท  ประวาลพฤกษ์
โกวิท  ประวาลพฤกษ์  (2532)  นักวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่า  ควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม  และดำเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
          7.1  กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
          7.2  เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
          7.3  ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
          7.4  แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
          7.5  ฝึกพฤติกรรม โดยมีผลสำเร็จ
          7.6  เพิ่มระดับความขัดแย้ง
          7.7  ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
          7.8  กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตนเอง
8. การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ  โดย  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอน  12 กระบวนการด้วยกัน ดังนี้  (กรมวิชาการ 2534)
          8.1  ทักษะกระบวนการ  (9  ขั้น)
          8.2  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
          8.3  กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          8.4  กระบวนการแก้ปัญหา
          8.5  กระบวนการสร้างความตระหนัก
          8.6  กระบวนการปฏิบัติ
          8.7  กระบวนการคณิตศาสตร์
          8.8  กระบวนการเรียนภาษา
          8.10  กระบวนการสร้างเจตคติ
          8.11  กระบวนการสร้างค่านิยม
          8.12  กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...