การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา(2553 หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
มีลักษณะดังนี้ (อ้างถึงใน สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
)
1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน มีการบูรณาการดังนี้
1.1 กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์ โดยอาจารย์มีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และงานวิจัยย่อย
ๆ โดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อย
ๆ และมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่ ให้คำแนะนำปรึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
1.2 กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์
ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัย โดยมีอาจารย์ควบคุมการ ดำเนินงานเป็นระยะ
ๆ
1.3 กรณีที่นักศึกษาทุกระดับ ปริญญาตรี โท และเอก เข้าฟังการบรรยายหรือสัมมนา เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์คือ เข้าร่วมการจัดการแสดงงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ
1.4 จัดให้มีการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา
หรือส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
1.5 การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่ง ของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน หมายถึง อาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอนและนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน
2. การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม การบริการวิชาการหมายถึง กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับบุคคลภายนอก
ประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้ ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร ในการบูรณาการวิชาการ แก่สังคม สามารถดำเนินการได้ดังนี้
2.1
การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติ และมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรม
2.2
การบูรณาการงานการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือการนำความรู้ และประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
3. การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน สถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน คือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น