การวัดและการประเมินผล
การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สําคัญอย่างหนึ่งสําหรับผู้สอน
ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและ
การประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า
ได้ดําเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ กําหนดไว้หรือไม่
ดังนั้นผู้สอนจึงจําเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดําเนินการวัดและการ
ประเมินผลได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกําหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทน
คุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคําว่า “การประเมินผล” นั้นเป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของ
โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทํางานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
การวัดและการประเมินผลการศึกษาหรือการเรียนการสอนหรือที่ในปัจจุบันใช้คําว่าการจัดการ
เรียนรู้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
1. การจัดตําแหน่ง (Placement) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัด
หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่ง ปานกลาง
หรืออ่อน มาก น้อยเท่าใด ซึ่งสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น เมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษา
ผู้เรียนแต่ละคนจะมี ความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด
รวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่างๆ ที่จะต้องมีการ
คัดเลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชาหรือชั้นเรียน
อย่างไร ดังนั้นผู้สอนหรือสถานศึกษาก็จะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดหรือ
แบ่งประเภทได้อย่างยุติธรรม
2. การวินิจฉัย (Diagnosis) คําๆนี้ มักจะใช้ในทางการแพทย์
โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนไข้แล้ว แพทย์ จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไร
หรือมีสาเหตุอะไรที่ทําให้ไม่สบาย ซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานของโรค
เพื่อนําไปสู่การรักษา สําหรับในทางการศึกษานั้น
การวัดและการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการวินิจฉัยว่า
ผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วในแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนเข้าใจ
ชัดเจน ถูกต้องหรือไม่เข้าใจ เข้าใจยังไม่ถูกต้อง
ผู้สอนจะได้สอนหรือแนะนําทําความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
3. การเปรียบเทียบ (Assessment) จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อการ
เปรียบเทียบความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยการที่ผู้สอนอาจจะสอบวัด ความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้ว
หลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่ง หรือเมื่อ
เรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดและประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
ซึ่งการกระทําเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยเปรียบเทียบจาก ผลการสอบก่อนเรียนกับผลการสอบหลังจากที่เรียนไปแล้ว
4. การพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดหรือประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทํานายหรือ
คาดการณ์และแนะนําว่าผู้เรียนคนนั้นๆ ควรจะเรียนอย่างไร
จึงจะประสบความสําเร็จและสอดคล้องกับ ความสามารถ
ความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคคล
ในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกคน มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน
ดังนั้น หากสามารถจัดการศึกษา หรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ ความถนัด ความสนใจ
หรือความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนได้ ก็จะทําให้การศึกษาหรือการเรียนรู้
ในเรื่องนั้นๆ ได้รวดเร็วและประสบความสําเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
5. การป้อนผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนําผลประเมินที่ได้ไปใช้ใน
การปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อๆ ไป ผลย้อนกลับนี้มีได้ทั้งส่วนที่เป็นของผู้สอนและส่วนที่
เป็นของผู้เรียน
ในส่วนของผู้สอนเมื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนการ
สอนแล้ว ผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิค วิธีการสอน
สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาหรือ กิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่
อย่างไร มีส่วนใดบ้างที่จําเป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไขส่วนใดบ้างที่ดีอยู่แล้ว
สําหรับในส่วนของผู้เรียนนั้น เมื่อมีการวัดและการประเมินผลแล้ว
ผู้เรียนก็จะได้รับรายงานผลของตนเอง ทําให้ทราบว่าตนเองนั้นมีความรู้ระดับใด
และมีเรื่องใดบ้างที่เรียนรู้ แล้วเข้าใจชัดเจน
เรื่องใดบ้างที่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมอีก
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียนในการศึกษา ขั้นสูงต่อๆ ไป
6. การเรียนรู้ (Learning
Experience) เป็นการวัดและการประเมินผลที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระตุ้น
ในรูปแบบต่างๆ ที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทําให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนอีกด้วย
เนื่องจาก ในกรณีที่มีการสอบเพื่อวัดและประเมินผลนี้
ก่อนสอบผู้เรียนจะต้องมีการเตรียมตัวสอบจะต้องมีการทบทวนเนื้อหาวิชาที่เรียนศึกษาค้นคว้า
ทําความเข้าใจให้ถ่องแท้จึงทําให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และถูกต้องชัดเจน
และเมื่อผู้เรียนเข้าทําข้อสอบ โดยที่ข้อสอบที่ใช้นั้นจะเป็นสภาพการณ์ที่สร้างขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนตอบแบบที่ ต้องใช้ความคิดในหลายๆ แง่มุม เช่น คิดแก้ปัญหา
คิดคํานวณ คิคหาสรุป เป็นต้น ซึ่งการคิดเหล่านี้เป็น กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้ว บลูม (Bloom, 1971, p.56) ได้เสนอ
เกี่ยวกับจุดประสงค์ที่จะทําการวัดและการประเมินผลโดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดได้
ไว้ดังนี้
1. วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย (Cognitive
Domain)
2. วัดทางความรู้สึกนึกคิดหรือจิตพิสัย (Affective
Domain)
3. วัดความสามารถในการใช้อวัยวะต่างๆ
หรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผล
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลาย
ชนิด แต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
1. การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต
สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนใน
สภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่วๆ
ไปเป็นการเฝ้าดูพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ถูก สังเกต
ซึ่งอาจจะเฝ้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กําหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตอะไร อย่างไร
สังเกตอะไรก่อน-หลัง
เมื่อมีพฤติกรรมอะไรเกิดขึ้นก็สังเกตและจดบันทึกไว้ทั้งหมดหรืออาจจะเฝ้าดูอย่างมีแผนการ
กําหนดไว้ แน่นอนว่าจะสังเกตอะไรบ้างและสังเกตอย่างไร ตัวอย่างเช่น ต้องการจะวัดว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งมี
พฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง อาจกําหนดแผนงานในการสังเกตเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อคอยสังเกต
พฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เรียนคนนั้นว่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอะไรออกมาบ้าง
และมีการแสดงออกอย่างไร พร้อมทั้งจดบันทึกผลไว้แล้วนํามาประเมินผลในภายหลัง
เป็นต้น การสังเกตทั้งสองวิธีนี้มีทั้งข้อดีและ ข้อบกพร่องแตกต่างกัน คือ
การสังเกตอย่างไม่มีแผนล่วงหน้า อาจจะเสียเวลาน้อย แต่จะได้พฤติกรรมที่
เกิดขึ้นอย่างมาก โดยที่บางพฤติกรรมอาจไม่ตรงกับที่ต้องการจะสังเกตก็ได้
ส่วนการสังเกตอย่างมีแผนการ จะเสียเวลาเฝ้าคอยพฤติกรรมนั้นๆ นาน
แต่จะได้เฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตจริง ๆ เท่านั้น
2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบซึ่งกัน
และกัน การสัมภาษณ์ อาจทําได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ
แบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแผนโดยเฉพาะแบบ มีแผนนั้น
จะกระทําเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
มีแนวการสัมภาษณ์และกําหนดเป็น คําถามไว้ล่วงหน้า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
โดยจะใช้การถามเพื่อล้วงหาคําตอบแบบหยั่งลึกก็ได้ การสัมภาษณ์วิธี
นี้จะมีการบันทึกผลการสัมภาษณ์และการตั้งเกณฑ์สําหรับคนที่จะผ่านการสัมภาษณ์ด้วย
การวัดและการ
ประเมินผลโดยใช้การสัมภาษณ์นี้มีข้อดีตรงที่ผู้สัมภาษณ์จะได้ผลจากการสัมภาษณ์ที่เป็นข้อมูลสภาพจริง
ของผู้ตอบ
ได้ทราบความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างใกล้ชิดแต่อาจต้องใช้เวลามาก
3. การให้ปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทําได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่
เช่น การสอนเขียนแบบ
เมื่อผู้สอนสอนหลักการไปแล้วก็ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเขียนแบบตามหลักการที่สอนมา
ให้ดู เป็นต้น การวัดโดยให้ปฏิบัติและประเมินผลจากผลการปฏิบัตินั้นๆ
ถือเป็นวิธีการวัดและประเมินผลที่ดี อีกวิธีหนึ่งในบางสาขาวิชา
โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการสอนทักษะต่างๆ
4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหา
หรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดย ละเอียดลึกซึ่งเป็นรายๆ ไป เช่น
การค้นหาสาเหตุของผู้เรียนที่มาโรงเรียนสายเป็นประจําหรือผู้เรียนที่ไม่ ตั้งใจเรียนและชอบหนีโรงเรียน
เป็นต้น ในการศึกษาจะใช้เทคนิคและเครื่องมือหลายชนิดมารวบรวมข้อมูล ในเรื่องต่างๆ
ที่ศึกษาและบันทึกผลไว้ แล้วนํามาวิเคราะห์
สรุปหาสาเหตุของปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการ ศึกษาอย่างแท้จริง
5. การให้จิตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัด
ออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของคนอื่น
การวัดและการ ประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้วัดทางด้านบุคลิกภาพ เช่น เจตคติ ความสนใจ
อารมณ์ ค่านิยม นิสัยและอุปนิสัย เป็นต้น การให้จินตนาการมีหลายแบบ เช่น
แบบเติมประโยคให้สมบูรณ์ แบบให้แสดงออกหรืออธิบายภาพ ที่เลือนลาง แบบเรียงลําดับ
เป็นต้น การให้จินตนาการนี้เหมาะสําหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด หรือลําบากใจ
ในการโต้ตอบซักถามได้เป็นอย่างดี
เพราะจะทําให้ได้การวัดและการประเมินผลที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความ จริงมากที่สุด
6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคําถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่าง
เป็นระบบระเบียบ พร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเอง
คําถามที่ใช้จะเป็นคําถามที่ใช้ถาม ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คําถามใน แบบสอบถามนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบคําถามเปิด
ผู้ตอบต้องหาคําตอบมาใส่เองและแบบคําถามปิดผู้ตอบเลือกตอบจากคําตอบที่ กําหนดให้
การประเมินผลตามระบบการวัดผล
ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น
จะต้องมีการวัดและการประเมินผลเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงสัมฤทธิผล
ในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอน
ดังนั้นเมื่อมีการวัดผลด้วยเครื่องมือเทคนิควิธีใดๆ แล้ว
จะต้องนําผลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินผลด้วยระบบการวัดผลมาตรฐานซึ่งได้แก่
1. การประเมินผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลงานหรือคะแนน
ของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน
โดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวกันหรือฉบับ
เดียวกัน
จุดมุ่งหมายหลักของการประเมินผลแบบนี้เพื่อต้องการจําแนกหรือจัดลําดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆ
ตาม ความสามารถตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ําสุด โดยยึดระดับผลสัมฤทธิ์ เช่น
การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน สถานศึกษา
จะมีการแปลคะแนนของผู้สอบออกมาในรูปของคะแนนมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะ
เป็นการจัดคะแนนในรูปของเปอร์เซนไทล์ หรือ เคไซค์ก็ได้ แบบทดสอบสําหรับการประเมินผลประเภทนี้
ควรมีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
ค่าที่พอเหมาะคือค่าความยากง่ายที่ 50
% ค่า อํานาจจําแนกสูง
ดังนั้นการได้คะแนนสูงหรือต่ําของผู้เรียนจะถือว่าเป็นเพราะความแตกต่างของตัวผู้เรียน
เอง และความเป็นมาตรฐานของข้อสอบที่สามารถแยกให้เห็นถึงความแตกต่างของคะแนนได้ การ
ประเมินผลแบบอิงกลุ่มนี้จะบอกได้แต่เพียงว่า
ผู้เรียนคนหนึ่งสามารถทําได้ถูกต้องกว่าคนอื่นๆ อยู่กี่คน
เท่านั้นโดยไม่สามารถบอกได้ว่าผู้เรียนทําแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อ หรือถูกต้อง 70% หรือ 30%
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กําหนดขึ้น
เพื่อดูว่า งานหรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด
โดยไม่คํานึงถึงอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
การสอบวิชาหลักการสอนให้ผ่าน จะต้องได้เกรดไม่ต่ํากว่า 2 หรือ C. คนที่สอบได้เท่ากับหรือ มากกว่า 2 หรือ C. ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
การประเมินผลตามสภาพจริง
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีจุดเด่นประการหนึ่งที่นอกเหนือจากการเรียน การสอน ที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Centered) คือ
การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หรือเน้นการวัดผลให้ตรงกับสภาพจริงของการเรียนการสอน
แล้วนําผลการวัดเหล่านั้นมา ประเมินว่าบรรลุผลการเรียนรู้มากน้อยเพียงไร
การเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น จะเน้นให้ ผู้เรียนเป็นผู้กระทํา (Learning
by doing) มิใช่เกิดจากการเรียนการสอนแบบเก่า คือ
ผู้เรียนฟังครูผู้สอนแต่ เพียงอย่างเดียว ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้
จะวัดผลเพียงแค่ผู้เรียนฟังแล้วรู้เรื่องที่ครูสอนมากน้อยเท่าไร ใคร
จําเรื่องราวที่ครูบรรยายได้มาก ก็ประเมินว่าเรียนเก่ง
ใครจําเรื่องราวได้น้อยจากครูก็เป็นผู้เรียนอ่อนหรือ สมควรตก แล้วเรียนใหม่
เป็นต้น
ในปัจจุบันการวัดผลมิใช่เพียงแค่การทดสอบ
หรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินจากสภาพ แท้จริงของผู้เรียน ดังนั้น
การประเมินผลตามสภาพจริง จึงหมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึกและ
รวบรวมข้อมูลจากผลงานและวิธีการที่ผู้เรียนกระทํา เพื่อเป็นพื้นฐานสําหรับการตัดสินใจในการศึกษาถึง
ผลกระทบต่อผู้เรียนเหล่านั้น
การประเมินผลตามสภาพจริงจะไม่เน้นเฉพาะการประเมินทักษะพื้นฐาน แต่
จะเน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทํางานของผู้เรียนประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา
และการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริง นอกจากนั้น
ยังเน้นการประเมินพัฒนาการเรียนรู้
ของผู้เรียนที่เกิดจากการให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบข้อความรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
พัฒนาการสอนของครู อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ลักษณะของการประเมินผลตามสภาพจริง
ลักษณะสําคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการดังนี้ คือ
1. ประเมินในสิ่งที่เป็นภาคปฏิบัติจริง หรือกระทําจริงได้ เช่น
ผู้เรียนต้องทําการทดลอง วิทยาศาสตร์ได้จริงๆ
ไม่ใช่ทดลองหรือแก้ปัญหาโดยการเขียนบรรยาย หรือจําถึงหลักของวิทยาศาสตร์ โดย
ไม่เคยทดลองเลย หรือเด็กที่จะเป็นผู้ได้เกรด A วิชาสุขศึกษา
จะต้องเป็นผู้รู้จักรักษาอนามัยตนเองได้ดี ร่างกาย แข็งแรง
ไม่ใช่เด็กที่ตอบคะแนนจากวิชานี้ได้สูง แต่ไม่รู้จักดูแลสุขภาพ
ขี้โรคและแต่งตัวสกปรก เป็นต้น
2. กําหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินไว้ให้ชัดเจน โดยยึดหลักของการแสดงออกหรือปฏิบัติเป็น
สําคัญ เพื่อการเข้าใจกันระหว่างผู้เรียนและครู
3. การประเมินตามสภาพจริง จะต้องทําให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่าง
เต็มที่ เด็กสามารถจะปรับปรุง
หรือขยายผลงานของตนให้เข้าใกล้กับสิ่งที่เป็นเกณฑ์กําหนดไว้ ตามความสามารถของตนเอง
4. การประเมินตามสภาพจริง
จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในการแสดงออกอย่างเต็มที่ ในสิ่งที่เขา สนใจและต้องการ
จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งในสภาพแวดล้อม ชุมชน ที่เขาอยู่อาศัย การเรียนใน
ลักษณะนี้ จะทําให้ผู้เรียนมีความสุขต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ดีกว่าการบังคับเรียนโดยครูหรือหลักสูตรที่ คับแคบไม่ตอบสนองและคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่อย่างไร
จากลักษณะสําคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง 4 ประการนี้
จะเห็นว่าแนวการประเมินตาม สภาพจริงมุ่งที่จะวัดการแสดงออกใดๆ
ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดและในกิจกรรมทุกกิจกรรมทุกอย่างหน้าที่
ของครูจะเป็นไปในลักษณะติดตามผลพร้อมกับช่วยเหลือ เสนอแนะ
เปรียบเสมือนจะเป็นผู้ฝึก (Coach) แล้วผู้เรียนเป็นผู้แสดงหรือผู้เล่น
ถ้าสร้างความเข้าใจในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกพัฒนาตนเองเต็มที่
และเรียนอย่างมีความสุขที่ตนสนใจและต้องการ
แนวการเรียนการสอนในลักษณะเด็กเป็นผู้แสดงนี้ ครูจะต้องมีการติดตามและมีการวัดทุกพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นเพื่อจะได้นําเอาผลการวัดเหล่านั้นมา
ประเมินผู้เรียนได้ถูกต้องแม่นยํา และเป็นไปตามสภาพจริงๆ
ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนการสอน
แนวทางในการวัดการประเมินตามสภาพจริง
เพื่อให้เห็นแนวทางของการวัดการประเมินตามสภาพจริง
จึงกล่าวสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. การวัดผลจะต้องใช้หลายๆ วิธีในการวัด เพื่อจะได้ประเมินผู้เรียนได้ครอบคลุม
เช่นการวัด แบบสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การใช้สังคมมิติ การวัดจินตภาพ
การวัดภาคปฏิบัติ และการวัด โดยใช้ข้อสอบ เป็นต้น
2. จะต้องมีการจัดทําแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมผลงานต่างๆ
ของผู้เรียนคน หนึ่งๆ อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน
มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการประเมินปลายภาคหรือปลายปี
3. การวัดผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับชั้นต่างๆ
ในตัวผู้เรียนแต่ละคน จะต้องตอบให้ได้ว่าบรรลุ เป้าหมายมากน้อยเพียงไร
3.1 เป้าหมายระดับชาติ
(เป้าหมายสูงสุดหรือปรัชญา)
3.2 เป้าหมายระดับท้องถิ่น
(เป้าหมายหลักสูตร)
3.3 เป้าหมายของตนเอง (ผู้เรียน)
(เป้าหมายตอบสนองบุคคล)
4. แนวทางในการวัด
เน้นการวัดที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือการวัดมุ่งจะปรับปรุง พัฒนาผู้เรียน (Formative
Evaluation) ส่วนการวัดที่เน้นโดยภาพรวมหรือสรุป (Summative
Evaluation) จะทําในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
แต่ในส่วนครูผู้สอนจะต้องเน้นการวัดผลควบคู่ไปกับการเรียนการสอน
เพราะเมื่อไรเห็นผู้เรียนอ่อนในเนื้อหาใด
หรือประสบการณ์ใดเป็นหน้าที่ของครูจะต้องช่วยพัฒนาและซ่อม
เสริมได้ตรงจุดและจะต้องทําอยู่ตลอดเวลา การวัดและประเมินตามแนวนี้
จะช่วยสร้างความอบอุ่นต่อการ เรียนการสอนเด็กจะมีความสุข
การวัดผลแบบแนวเดิมๆและใช้ข้อสอบอย่างเดียวเป็นหลัก จะสร้างความ
หวาดวิตกกังวลให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนจะไม่มีความสุขแต่อย่างไรการเรียนการสอนก็กลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ
ไม่น่าสนใจ
เครื่องมือการประเมินผลตามสภาพจริง
การประเมินผลตามสภาพจริงที่มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนกับแผนการประเมินนั้น
ครูจะประเมินโดยเน้น “ap” คือการแสดงออก
(performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (Products) และแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) โดยการประเมินควบคู่กันดังนี้ (นวรัตน์ สมนาม, 2546. หน้า 193 - 195)
1. การประเมินการแสดงออก (Performance)
การประเมินการแสดงออก
ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเมื่อครูอยู่ท่ามกลางกลุ่มนักเรียน โดยครูเล่านิทาน
หรือนักเรียนทํางาน และกิจกรรมต่างๆ ครูจะสังเกตสีหน้าท่าทางการพูดโต้ตอบ การ
แสดงออกที่สนุกสนานเพลิดเพลิน รวมทั้งแสดงออกในการพูดโต้ตอบพัฒนาการทางด้านภาษา
ความเข้าใจ เรื่องราวในเรื่องที่เรียน เป็นต้น สําหรับการประเมินกระบวนการ (process) ซึ่งจะต้องสังเกตควบคู่กับการ
แสดงออก โดยครูสังเกตการเคลื่อนไหว กิริยาท่าทาง ความร่วมมือ ความคล่องแคล่ว
ความอดทน การใช้ อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในระหว่างการเรียน การปฏิบัติงาน
รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ เป็นต้น
2. การประเมินกระบวนการและผลผลิต (Process
and Products)
การประเมินผลผลิต นักเรียนจะเป็นสื่อกลางให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
ข้อมูลที่สําคัญที่เกิดจากการสํารวจค้นคว้า ทดลอง และโครงงานต่างๆ
จุดเน้นของการประเมินสภาพจริงจะไม่พิจารณาเฉพาะผลผลิตเท่านั้น
แต่จะเน้นที่กระบวนการที่มีต่อผลผลิตด้วย ตัวอย่างการผลิต เช่น แผนงาน โครงงาน
รายชื่อหนังสือที่อ่าน ผลการสาธิต การจัดนิทรรศการ แผนภาพ แผนภูมิ เกมต่างๆ
โครงงานกลุ่ม เป็นต้น
การประเมินแฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment)
เป็นวิธีการประเมินที่เน้นประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
ในการประเมินการแสดงออก กระบวนการและ ผลผลิต หมายถึง การประเมินความสําเร็จของนักเรียนจากผลงานที่เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด
หรือผลงานที่แสดง ถึงความสนใจ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ
และพัฒนาการของนักเรียนที่ได้เรียนรู้มาช่วงระยะหนึ่ง ซึ่ง
แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เขาประสบความสําเร็จ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนําไปใช้ในการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน
จึงควรทําความ รู้จักกับแฟ้มสะสมงานในรายละเอียด ดังนี้
3.1 ความหมายของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน หมายถึง
สิ่งที่เก็บรวบรวมผลงานหรือตัวอย่างของผลงานหรือหลักฐานที่ แสคงถึงผลสัมฤทธิ์
ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสําคัญที่ต้องจัดเก็บ
ไว้อย่างเป็นระบบ
3.2 ลักษณะเด่นของการประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน
การประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน มีลักษณะเด่นที่สําคัญดังต่อไปนี้
3.2.1 เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน
3.2.2 พัฒนาทักษะทางวิชาการระดับสูงแก่นักเรียน
3.2.3 พัฒนาทักษะการทํางานเป็นทีมเพื่อให้งานสําเร็จ
3.2.4 เป็นการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม
3.2.5 แสดงพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนได้ปรับปรุงงานตลอดเวลา
3.2.6 วัดความสามารถของนักเรียนได้หลายด้าน
3.2.7 เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในสภาพการเรียนประจําวันที่มีประโยชน์ต่อนักเรียน
ในสภาพชีวิตจริง
3.2.8 นักเรียนมีความตระหนักในกระบวนการและยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในการเรียน
การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการสอนปกติถ้าไม่สอนเรื่องเหล่านี้โดยตรง แล้ว
นักเรียนจะมีโอกาสเรียนรู้เรื่องนี้ได้น้อยมาก
3.2.9 นักเรียนได้มีโอกาสในการแสดง สร้างสรรค์ ผลิตหรือทํางานด้วยตนเอง
3.3 ประเภทของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน สามารถรวบรวมเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
3.3.1 แฟ้มสะสมงานส่วนบุคคล เป็นแฟ้มที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเจ้าของแฟ้ม เช่น
ความสามารถพิเศษ กีฬา งานอดิเรก สัตว์เลี้ยง การท่องเที่ยว และการร่วมกิจกรรมชุมชน
เป็นต้น
3.3.2 แฟ้มสะสมงานวิชาชีพ เป็นแฟ้มที่แสดงผลงานเกี่ยวกับอาชีพ เช่น แฟ้มสะสมงาน
เพื่อใช้ในการสมัครงาน แฟ้มสะสมงานเพื่อเสนอขอเลื่อนระดับ เป็นต้น
3.3.3 แฟ้มสะสมงานวิชาการ หรือแฟ้มที่แสดงผลงานเกี่ยวกับอาชีพ เช่น แฟ้มสะสมงาน
เพื่อใช้ในการสมัครงาน แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประเมินผลการผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
แฟ้มสะสมงานเพื่อ ใช้ประกอบการประเมินผลปลายภาคและปลายปี เป็นต้น
3.3.4 แฟ้มสะสมงานสําหรับโครงการ มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์ สารคดีโดยเป็นแฟ้มที่
แสดงถึงความพยายามหรือขั้นตอนการทํางานในโครงการหนึ่งๆ หรือในการศึกษาส่วนบุคคล
เช่น แฟ้ม โครงการอาหารกลางวันในแฟ้มจะประกอบด้วยเอกสาร โครงการ
หลักฐานที่แสดงถึงร่องรอยของการ ปฏิบัติงานและผลงาน เป็นต้น
3.4 องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานเป็นการเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนมี
องค์ประกอบสําคัญของแฟ้มสะสมงานไว้ดังนี้
3.4.1 จุดมุ่งหมาย กําหนดขึ้นเพื่อใช้ตัดสินว่าแฟ้มสะสมงานจะใช้อธิบายหรือจัดอะไร
จุดมุ่งหมายเป็นกิจกรรมแรกที่สําคัญในการจัดทําแฟ้มสะสมงาน
จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนช่วยป้องกันไม่ให้ นักเรียนทํางานมากเกินความจําเป็น
แฟ้มสะสมงานมีความหมายมากกว่าการรวบรวมกระดาษบรรจุลงแฟ้ม
หรือรวบรวมความจําเขียนลงในสมุด แต่หลักฐานแต่ละชิ้นในแฟ้มสะสมงานจะต้องสร้างสรรค์
และ จัดระบบความที่แสดงให้เห็นถึงความชํานาญ หรือความก้าวหน้าตามจุดประสงค์
จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนช่วย ให้นักเรียนเข้าใจ
และสามารถเชื่อมจุดหมายเหล่านี้เข้ากับการสอนในแต่ละวันของครู
3.4.2 หลักฐานหรือชิ้นงาน ประกอบด้วยหลักฐานและแนวทางต่างๆ
ที่นักเรียนเลือกเพื่อ แสดงให้เห็นถึงความสําเร็จในการบรรลุจุดประสงค์ การสร้าง
การรวบรวมเอกสาร
3.4.2.1 เอกสารประเภทการบ้าน แบบฝึกหัด รายงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นระหว่าง
การทํางานวิชาการในห้องเรียน
3.4.2.2 เอกสารที่แสดงถึงงานที่นักเรียนทํานอกห้องเรียน เช่น โครงการพิเศษ การ
สัมภาษณ์
3.4.2.3 เอกสารที่ครูและคนอื่นๆ ใช้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการของ
นักเรียน เช่น บันทึกการสังเกตที่ครูบันทึกระหว่างที่นักเรียนนําเสนอหน้าชั้น
ใช้เป็นหลักฐานแสดง ความก้าวหน้าในการเรียนเกี่ยวกับการพูดหน้าชั้น
บันทึกของผู้เรียน เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง การสอนใน ลักษณะต่างๆ
3.4.2.4 เอกสารที่นักเรียนเตรียมขึ้นเฉพาะบรรจุลงในแฟ้มผลงาน ซึ่งประกอบด้วย
จุดมุ่งหมาย ข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถตามจุดมุ่งหมายและหัวข้อ
3.4.3 การประเมินตนเอง เป็นการให้นักเรียนประเมินแฟ้มสะสมงานของตนเองว่า
เป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
ด้วยกระบวนการต่อไปนี้
3.4.3.1 กําหนดองค์ประกอบและเกณฑ์ในการตรวจสอบผลงานโดยครู
และนักเรียน
ร่วมกันกําหนดเกณฑ์ อาจอยู่ในรูปของดัชนี คะแนน
หรือคุณลักษณะที่สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ นักเรียนได้
3.4.3.2 สร้างเครื่องมือเพื่อให้การตรวจสอบผลงานตามองค์ประกอบ
เช่น
แบบสํารวจ
รายการ บันทึกรายการเรียนรู้ เป็นต้น
3.4.4 เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อชิ้นงาน แต่ละชิ้นที่บรรจุในแฟ้ม
สะสม
งาน
รวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ และการให้คะแนนชิ้นงาน ซึ่งทําให้แฟ้มสะสมงานมีชีวิต
ชีวา และช่วย ให้นักเรียนพิจารณาการเรียนรู้ของตนเอง
ซึ่งเป็นการใช้ความคิดในขั้นสูง
3.4.5 การประเมินแฟ้มสะสมงาน
เป็นการประเมินความพอดีระหว่างความสามารถที่
แท้จริงของผู้เรียนกับศักยภาพของผู้เรียน
3.5 ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการแสดงผลงานของผู้เรียนที่สอดคล้อง
กับความสามารถที่ แท้จริง แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ต่อผู้สอน ดังนี้
3.5.1 ใช้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.5.2 ทําหน้าที่ในการสะท้อนความสามารถรวมออกมาเป็นผลงานชิ้นสุดท้าย
และทำ
หน้าที่ในการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทํางานของนักเรียนได้ทุกขั้นตอน
3.5.3 แฟ้มสะสมงานจะทําให้ครูสามารถหาจุดเด่นของนักเรียนได้มากกว่าจุดด้อย
และ
นักเรียนสามารถเลือกตัดสินใจว่าชิ้นงานที่ดีที่สุดของตนในการประเมิน
ดังนั้นนักเรียนมีความสุขในการทํา แฟ้มสะสมงานของตนมากกว่า
3.5.4 ทําหน้าที่สําคัญในการแจ้งผลสําเร็จของนักเรียนให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ
รวมทั้ง
สามารถนําไปใช้ในการอภิปรายความก้าวหน้าของนักเรียนกับผู้ปกครองได้การประเมินจากแฟ้มสะสมงานก็
มีลักษณะเปิดเผยตรงไปตรงมา
ซึ่งต่างจากการใช้แบบทดสอบที่ครูต้องปกปิดเป็นความลับอยู่เสมอ
3.5.5 การเก็บสะสมงาน
งานทุกชิ้นที่พิจารณาคัดเลือกไว้ต้องเขียน ชื่อ วัน เดือน ปี แปะติด
ไว้ให้สามารถประเมินความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของนักเรียน
3.6 กระบวนการทําแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน
จะเป็นแฟ้มสะสมงานที่สมบูรณ์ มีค่าเมื่อมีการจัดกระทําอย่างเป็นระบบ
หรือเป็นกระบวนการต่อเนื่องกัน ในการทําแฟ้มสะสมงานมีกระบวนการที่จําเป็น 10 ขั้นตอน
3.6.1 ขั้นกําหนดวัตถุประสงค์และประเภทของแฟ้มสะสมงาน
การกําหนดวัตถุประสงค์
และประเภทของแฟ้มสะสมงานจะเป็นตัวตอบคําถามว่าทําไมจึงต้องนํานักเรียนมาเกี่ยวข้องกับการรวบรวม
งานที่เขาสร้างขึ้น แฟ้มสะสมงานจะถูกนําไปใช้อย่างไร
มีจุดประสงค์ที่แท้จริงอย่างไร การประเมินผลใช้ วิธีการใด
ซึ่งในการกําหนดจุดประสงค์ของแฟ้มสะสมงานต้องยึดหลักแห่งความรู้ กระบวนการเรียนรู้
และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้ผู้เรียนได้ทํากิจกรรม
และประเมินตนเองได้ตลอดระยะเวลาที่กําหนด
เป็นการช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถสะท้อนความสามารถในการคิด
และนักเรียนยังสามารถ กํากับดูแล และชื่นชมความก้าวหน้ากับพัฒนาการของตนเอง
3.6.2 ขั้นรวบรวมชิ้นงานและจัดการชิ้นงาน
ในขั้นนี้ ครูจะต้องวางแผนร่วมกับนักเรียน ว่า
จะเก็บรวบรวมชิ้นงานอย่างไร
ออกแบบเครื่องมือและวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนได้จัดระบบกับชิ้นงาน ของเขา
ชิ้นงานมี 2 ชนิด คือ
งานแกนที่ทุกคนต้องทํา ครูอาจจะต้องมีแนวทางให้และเลือกงานที่นักเรียน
สามรถใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ตามความสนใจ
3.6.3 ขั้นเลือกชิ้นงานการรวบรวมชิ้นงานจะมีจํานวนมากพอที่จะนํามาพิจารณาคัดเลือก
ชิ้นงานเพื่อลดจํานวนชิ้นงานลง
เป็นการตัดสินใจเชิงวิชาการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของชิ้นงานของนักเรียน
จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ อาจมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกชิ้นงาน ดังนี้ คือ
งานชิ้นใดควรเลือก อย่างไร ใครเป็นผู้เลือกหรือควรเลือกเมื่อใด
และเก็บชิ้นงานที่ดีที่สุดไว้ 2-5 ชิ้นต่อ 1 ภาคเรียน
3.6.4 ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน
ในขั้นนี้เป็นการถ่ายทอดความสามารถในการสร้างสรรค์
ผลงานให้ประจักษ์ถึงความสามารถของผู้เรียนในการตกแต่ง
ประดิษฐ์แฟ้มงานทั้งมีความสวยงาม และมี ผลงานที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิด
เก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบและสวยงาม ซึ่งสิ่งนี้จะแสดงความคิด
สร้างสรรค์และบุคลิกภาพของผู้เรียน
3.6.5 ขั้นการสะท้อนข้อมูลกลับ
เป็นการให้นักเรียนสะท้อนความรู้สึกนึกคิดหรือความ
คิดเห็นต่อชิ้นงานที่เลือกไว้ในแฟ้มสะสมงาน
ในกระบวนการสะท้อนข้อมูลกลับจะเกี่ยวข้องกับการทํางาน ตั้งแต่ขั้นการวางแผน
การติดตาม และการประเมินผลงาน วิธีการสะท้อนข้อมูลกลับเกี่ยวกับชิ้นงานโดยใช้
สัญลักษณ์ แสดงไว้ในชิ้นงานแต่ละขั้น หรือการให้คําวิพากษ์วิจารณ์
รวมทั้งอาจให้คะแนนไว้บนชิ้นงาน จะอธิบายถึงคุณค่าของชิ้นงานนั้นๆ
3.6.6 ขั้นการตรวจสอบความสามารถของตนเอง
ในขั้นนี้นักเรียนสามารถตรวจสอบแฟ้ม
สะสมงาน
เพื่อประเมินตนเองและชิ้นงานของตนว่า บรรลุเป้าหมายระยะยาวระยะสั้นมากน้อยเพียงใด
นักเรียนได้พบจุดอ่อนอะไรบ้าง
และงานในแฟ้มสะสมงานสามารถชี้ความก้าวหน้าในขอบข่ายเนื้อหาสาระ ในเป้าหมายหรือไม่
เพื่อทําให้เกิดความเชื่อมั่นในแนวทางการทํางานของตน
3.6.7 ขั้นการทํางานให้สมบูรณ์และประเมินค่าผลงาน
การทํางานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้
พร้อมที่จะนําไปสู่การให้ระดับคะแนน
ดังนั้น การทําให้งานสมบูรณ์จะช่วยขัดเกลางาน ทําให้ผลผลิต ที่ได้สมบูรณ์
การให้คะแนนจะพิจารณาโดยเกณฑ์การให้คะแนนตามประเด็นการประเมิน (Rubrics) ที่
กําหนดไว้ล่วงหน้าโดยครูและนักเรียน การประเมินจะเน้นความก้าวหน้าในผลงานของนักเรียนแต่ละคน
มากกว่าการเปรียบเทียบ นักเรียนกับกลุ่ม
3.6.8 ขั้นการเชื่อมโยงและการปรึกษาหารือ
การประชุมสัมมนากับแฟ้มผลงานเพื่อเปิด
โอกาสให้นักเรียน
ครู และผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมตัดสินใจถึงความสําคัญต่อการวัดผล ประเมินผล การ
ปฏิบัติจริงโดยใช้การประเมินแฟ้มสะสมงาน
3.6.9 ขั้นการทําให้ผลงานมีคุณค่าทันสมัย
การพิจารณานําชิ้นงานเข้าเก็บหรือดึงชิ้นงาน
ออก
เพื่อทําให้ชิ้นงานและแฟ้มสะสมงานสมบูรณ์และทันสมัยเหมาะแก่การนําไปใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ
นักเรียนที่จะพิจารณาคุณภาพของชิ้นงานและแฟ้มสะสมงาน
3.6.10 ขั้นยอมรับคุณค่าที่สมบูรณ์
และนําเสนอผลงานด้วยความภาคภูมิใจการจัดเสนอ
แฟ้มผลงาน
จะผนวกเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของแฟ้มสะสมงาน เพื่อให้นักเรียนเตรียมจัดแสดง
นิทรรศการด้วยตนเอง แก่กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครอง
โดยการกําหนดเวลาที่แน่นอนเป็นการยอมรับคุณค่าอัน เป็นกระบวนการที่จะส่งเสริมกําลังใจ
และความสําเร็จของงานอย่างมีระบบ
3.7 การประคุณภาพของแฟ้มสะสมงาน
การประเมินคุณภาพของแฟ้มสะสมงานต้องกําหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนที่สะท้อนความสามารถ
ผู้เรียนได้
การจัดทําเกณฑ์ในการประเมินเริ่มจากการกําหนดนิยามของทักษะหรือสมรรถภาพที่จะวัด แล้ว
เลือกมาตราวัดว่าจะใช้เชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
หลังจากนั้นจึงจําเป็นต้องมีความชัดเจนว่าจะประเมินรวม หรีประเมินแยกเป็นรายชิ้น
แต่ละสมรรถภาพที่วัดจะมีตัวชี้วัดอะไรบ้าง ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีน้ําหนักคะแนน เท่าไร
ผลการประเมินตนเองของผู้เรียน เพื่อน ครู ผู้ปกครอง และผู้สนใจ
จะให้คะแนนกําหนดมาตรฐาน คุณภาพของงาน อย่างไร
กล่าวโดยสรุป แฟ้มสะสมงานเป็นทั้งเครื่องมือในการสอนของครู
เป็นการประเมินผลที่ ตรงตามสภาพจริง และยังเป็นการพัฒนาวิชาชีพครู
การนําแฟ้มสะสมงานมาใช้จึงต้องเป็นระบบและจาก การวิจัยของ คํารัส สีหะวีรชาติ (2542) พบว่า
การใช้แฟ้มสะสมงานในการพัฒนาการเรียนการสอน นักเรียน
ได้มีโอกาสในการแสดงความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สนใจเรียน
นักเรียนมีความสุขในการเรียน
นักเรียนรู้จักรับผิดชอบในการประเมินและตรวจสอบตนเองมากขึ้น
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่ได้เห็น
ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบในการประเมินและตรวจสอบตนเองมากขึ้น
ผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่ได้เห็นผู้เรียน รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
มีความภาคภูมิใจในการจัดทําแฟ้มสะสมงานของผู้เรียน
วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
การประเมินผลตามสภาพจริง จะเป็นการประเมินที่เป็นระบบ เป็นกระบวนการใช้วิธีการประเมิน
ได้หลายวิธี อาทิ
1. การสังเกต อาจจะมีหรือไม่มีเครื่องมือในการสังเกตก็ได้
ซึ่งสามารถทําได้ในทุกสถานการณ์
2. การสัมภาษณ์ โดยการตั้งคําถามอย่างง่ายๆ
ซึ่งสามารถสัมภาษณ์ได้ทั้งอย่างเป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ
3. การบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง โดยการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนจากผู้เกี่ยวข้อง
ทั้งทางด้านความรู้ ความสามารถ และการแสดงออกในลักษณะต่างๆ
4. แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic
Test) โดยการสร้างคําถามเกี่ยวกับการนํา
ความรู้ไปใช้ หรือการสร้างความรู้ใหม่ในสถานการณ์จําลองที่คล้ายคลึงกัน
หรือเลียนแบบสภาพจริง
5. การรายงานตนเอง โดยการพูดหรือเขียนบรรยายความรู้สึกนึกคิด
ความเข้าใจ ความต้องการ วิธีการ และผลงานของผู้เรียน
6. แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) เป็นการรวบรวมผลงานไว้อย่างเป็นระบบในช่วงระยะหนึ่ง
เพื่อ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเข้าใจ ความสามารถ ทักษะ ความสนใจ ความถนัด
ความพยายาม ความก้าวหน้า และความสําเร็จ
ข้อควรคํานึงถึงในการประเมินผลตามสภาพจริง
ในการประเมินตามสภาพจริงควรคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. เป็นการประเมินที่กระทําไปพร้อมๆ
กับการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. เป็นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมเป็นสําคัญ
(Performance-based) ซึ่งแสดงออกมาจริง
3. ให้ความสําคัญในการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4. เน้นการพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตนเอง
5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานเหตุการณ์ในชีวิตจริงเอื้อต่อการเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตจริง
6. มีการเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติในทุกบริบท
ทั้งที่โรงเรียน บ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
7. เน้นคุณภาพของผลงาน
ซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้านของผู้เรียน
8. เน้นการวัดความสามารถในการคิดระดับสูง
เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ เป็นต้น
9. ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์เชิงบวก
มีการชื่นชม ส่งเสริม และอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้
ของผู้เรียนให้ผู้เรียนมีความสุขสนุกสนานไม่เครียด
10. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stakeholders) ในการประเมินผลการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น