วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)


วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)

L : วิเคราะห์การะงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ(Altitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge - Skill - Attitudes การวิเคราะห์ภาระงามเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการเรียนการสอน มีภาระงานที่ยวข้องกับการเรียนการสอน2. ต้องความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน จึงจะนําไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง3. การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จากขั้นที่2บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใดDonald Clark, (2004 : 13) เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนนี้ว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน ดังนี้
ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เรียบเรียงภาระงาน      (ถ้าจําเป็น)
   = ระบุงาน
   = บรรยายลักษณะงาน
   = รายการ ภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสําหรับการเรียนการสอน (ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องที่ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น (ที่ไม่ใช่ การสอน)
สร้างเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติ
เลือกวิธีการเรียนการสอน
ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน (ถ้าจําเป็น)
หมายเหตุ คําว่า (ถ้าจําเป็น) อาจไม่ต้องทําก็ได้ เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น ๆ ทราบแล้ว

เพิ่มเติม   KSA diagram

 KSA Model เป็นแนวคิดทางการเรียนรู้หรือเป้าประสงค์ของการเรียนรู้ กลุ่มที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ สอน ฝึกงาน เทรนเนอร์ โค้ช ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยดี ส่วนตัวก็ใช้เพื่อการสอนตัวเองเหมือนกันเวลาเรียนรู้อะไรก็จะใช้หลักนี้จับ แล้วมันจะสนุกกับการเรียนรู้มาก
·       K  คือ  Knowledge หมายถึง  เรียนอะไรแล้วก็ต้องมีความรู้ด้านนั้น  แน่นในความรู้พื้นฐานหรือหลักการสำคัญของเรื่องนั้นๆ  เราหาได้จากการอ่านหนังสือ  ฟังบรรยาย  ถามอาจารย์หรือผู้รู้ทั้งหลาย  ค้นคว้าทำวิจัย  อันนี้เป็นภารกิจสำคัญของนักศึกษาอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือ ถ้าเราความรู้ไม่แน่นละ  ศักยภาพการเรียนรู้ของคนเราไม่เท่ากันก็ไม่เป็นไรมันสั่งสมกันได้ และเมื่อคุณมีใบปริญญา  มันก็ช่วยการันตีให้แล้วในเบื้องต้น  ฉะนั้น เรียนเอกภาษาไทย ก็ต้องเรียนให้รู้เข้าใจในหลักการสำคัญของภาษาไทย  อันที่จริงก็ทุกๆ สาขานั่นแหละนะ
·       คือ Skills  หมายถึง   ทักษะ   ซึ่งจะได้มาก็ต่อเมื่อฝึกฝน   อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง  เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการทำงานคราวนี้ใบปริญญาช่วยไม่ได้แล้ว   ฉะนั้น  เวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ต้องใช้ช่วงเวลานั้นฝึกทักษะในสาขาที่ตนเองเรียนอยู่ให้หนัก เพื่อให้ทักษะของเรามีความเข้มแข็ง  เอกภาษาไทย  ก็ต้องฝึกทักษะการใช้ภาษาไทย ทั้ง เขียน  อ่าน  และการพูด   คิดว่าจำเป็นนะ  และทักษะอื่นนอกสาขาวิชาเรียน  เช่น ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะทางสังคม ทักษะการค้าขาย  ทักษะการทำงานเป็นทีม  ทักษะการใช้คอมพ์ ทักษะภาษาต่างประเทศ  ทักษะกีฬา  ดนตรี  ซึ่งแนะนำเลยว่าต้องมี   เพราะคนจบปริญญาเอกเดียวกันปีละหลายพัน  เราจะสร้างความแตกต่างจากคนอื่นได้อย่างไร  ถ้าเราจบเอกภาษาไทยที่เขียนบทกวี  แต่งเพลง   เขียนนิยายได้  มันก็จะทำให้เราแตกต่าง หรือจบเอกภาษาไทยที่มีทักษะการเกษตร  ลองพิจารณาดูละกันนะ
·       A   คือ   Applications   อันนี้สำคัญมากๆ   คือการเอาไปใช้   จะประยุกต์ใช้ แบบ apply หรือ adapt  บูรณาการใช้แบบ  integration    หรือจะใช้อย่างไรก็แล้วแต่ ขอให้ฝึกนำไปใช้อย่างหลากหลาย อย่ายึดติดกับกรอบใดๆ ให้มากเกิน  คนเรานั้น ความรู้ทักษะก็พอมีเท่าๆ กันได้หรือ หาคนที่เขามีความรู้และทักษะมาช่วยงานเราได้  แต่..... คนที่จะคิดอย่างสร้างสรรค์  นำความรู้และทักษะมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ innovation  มันยาก  แต่ถ้าใครทำได้นะจะเยี่ยมมาก  อ้อ...คำว่านวัตกรรม  ก็ไม่ได้หมายถึง  คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออะไรทางวิทยาศาสตร์ราคาแพงนะ  ขอแค่เป็นสูตรการเรียนภาษาไทยสไตล์ใหม่  เหมือนครูลิลลี่ สูตรขนมปังปิ้ง   ลายผ้าไหม  ชุดแฟชั่นใหม่  เพลงใหม่   อะไรก็ได้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของเราเองมันจะทำให้เราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สิ่งนั้นและเป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน    มีอยู่คนหนึ่งแถวอำเภอสุวรรณภูมิ  เรียนจบปริญญามาแล้ว  แต่เปิดร้านขายของ  ขายขนมปังปิ้ง  แม้จะเป็นร้านเล็กๆ   และดูเหมือนจะพัฒนาการค้าของตนเองอยู่เสมอ  อย่างมีความสุข  สนุกกับการทำสิ่งที่ชอบ  แน่นอนว่าขณะที่คนอื่นกำลังวิ่งหางานทำ และต้องไปเป็นลูกน้องเขา  แต่เธอคนนี้ไม่ต้อง....เธอสร้างงานของตนเองและมีความสุขกับมันพร้อมคนในครอบครัว...ไม่ได้บอกว่าอันไหนผิดถูกนะ..และชอบแนวคิดของเธอคนนี้เพราะมันสอดคล้องกับประเด็นการเอาความรู้และทักษะที่ตนเองมีมาประยุกต์ใช้อย่างเยี่ยม  น่าชื่นชม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...