วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดมุ่งหมายการศึกษาของมาร์ซาโน


จุดมุ่งหมายการศึกษาของมาร์ซาโน

         Marzano    นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000) โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน (standard-based  instruction) รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน 


          Marzano & Kendall, (2007) ได้พัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่ แบ่งเป็น 1) ระบบ ปัญญา (Cognitive System) 2) ระบบอภิปัญญา (Meta cognitive System) และ 3)ระบบตนเอง (Self System และได้จําแนกอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 6 ขั้น
          ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา (Retrieval) ได้แก่ การระบุข้อความได้ (Recognizing) การระล (Recalling) และลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
          ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การบรณาการ (Integration) และการทําให้เป็น สัญลักษณ์ (Symbolizing)
          ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่ การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying) วิเคราะห์ ความผิดพลาดได้ (Analyzing Error) ติดตามได้ (Generalizing) และชี้ให้จําเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
          ขั้นที่ 4 การนําความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing) ได้แก่ การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจ ที่ลึกซึ้ง (Investigating)
          ขั้นที่ 5 อภิปัญญา (Meta-cognition) ได้แก่ การระบุจุดหมาย (Specifying Goals) การกํากับติดตาม กระบวนการ (Process Monitoring) การทําให้เกิดความชัดเจนในการกํากับติดตาม (Monitoring Clarity) และ การกํากับติดตามตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)
          ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง (Self-System thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ(Examining Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์ (Examining Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining Motivation)
 Marzano, (2000) ได้นำเสนอมิติใหม่ทางการศึกษา ดังนี้

ตารางมิติใหม่ทางการศึกษาระบบตนเอง
ระบบตนเอง (Self-System)
ความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของความรู้ (Beliefs About theImportance of Knowledge)
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ(Beliefs About Efficacy)
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับ ความรู้ (Emotions Associated with Knowledge )

ตารางมิติใหม่ทางการศึกษา ระบบอภิปัญญา
ระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System)
การบ่งชี้จุดหมาย(Specifying LearningGoals)
การเฝ้าระวังในกระบวนการ /การนำความรู้ไปใช้ (Monitoring the Execution Knowledge)
การทำให้เกิดความชัดเจน(Monitoring Clarity)
การตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)

ตารางมิติใหม่ทางการศึกษา ระบบปัญญา
ระบบปัญญา (Cognitive System )
การเรียกใช้ความรู้
(Knowledge Retrieval)
ความเข้าใจ
(Comprehension)
การวิเคราะห์
(Analysis)
การนำความรู้ไปใช้
(Knowledge Utilizing)
การระลึกได้ (Recalling) การลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
การสังเคราะห์ (Synthesis) การกกำหนดสัญลักษณ์/การเป็นตัวแทน (Representation)
การจับคู่ได้ (Matching)แยกประเภทได้(Classifying) วิเคราะห์ความผิดพลาดได้(Analyzing Error) การกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป(Generalizing)  การกำหนดเฉพาะเจาะจงได้(Specifying)
การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) การสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Investigating)
ขอบเขตความรู้ (Knowledge Domain)
ข้อมูล
(Information)
ขั้นตอนคิดวิธีการดำเนินการ
(Mental Procedures)
ขั้นตอนการลงมือทำ
(Physical Procedures)
3) การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
4) ให้คำแนะนำ ใช้คำถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า(Cues, Questions and Advance Organizes)
คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจำใช้และจัดการกับความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
5) การแสดงออกโดยภาษากาย (Nonlinguistic Representations)
คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอและให้รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
6) สรุปความและจดบันทึก (Summarizing and Note taking)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการกับข้อมูลโดยการสรุปสาระสำคัญ และข้อมูล
สนับสนุน
7) มอบหมายงานและให้ปฏิบัติ (Assigning Homework and Providing)
หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้ การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้าถึงระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
8) ระบุความเหมือนความแตกต่าง (Identifying Similarities and Differences)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้ กระบวนการทางปัญญาในการระบุหรือ จำแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
9) สร้างและทดสอบสมมติฐาน
(Generating and testing Hypotheses)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและ สามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการสร้าง และทดสอบสมมติฐาน

            Marzano, R., & Kendall, J.( 2001) นำเสนอระบบอภิปัญญา (Meta cognitive System) เป็นระบบที่ มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self - Directed Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุม กำกับ ดูแล การปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การติดตามดูแลปรับปรุง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีการต่าง ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงานชิ้นงาน นั้นลุล่วงตามภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ครู แนวคิดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในด้าน cognitive domain ตามที่มาร์ซาร์โน (Marzano Taxonomy) ได้นำเสนอไว้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Blooms Taxonomy และ Marzano Taxonomy ได้ดังนี้


ตารางการเปรียบเทียบ Blooms Taxonomy และ Marzano Taxonomy


            จากตารางเปรียบเทียบสรุปว่า วัตถุประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom Taxonomy ด้าน cognitive domain นั้น Marzano Taxonomy เรียกว่า cognitive system อีกสองระบบที่เพิ่มขึ้นไม่พบใน Bloom Taxonomy คือ Meta-cognitive system และ sell system) มาร์ซาโน ได้อ้างถึง แนวคิดของ Sternberg (Marzano, 1998: 54 - 37) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ในการจัดการตนเอง (organizing) การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluating) และการควบคุม(regulating) ซึ่งองค์ประกอบของการรู้คิดแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ มาร์ซาโน กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ในการจัดการตนเอง (organizing) การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluating) และการควบคุม (regulating) โดยแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
            1. การระบุจุดหมายเฉพาะเจาะจง (Goal specification) คือ การกำหนดจุดหมายของชิ้นงาน (the job of the goal) ที่ผู้เรียนตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยมีการกำหนดผลสำเร็จของงานในแต่ละขั้น
            2. การระบุกระบวนการที่ชัดเจน (Process specification) คือ การกำหนดความรู้ ทักษะหรือ กลวิธี ขั้นตอนกระบวนการเพื่อการบรรลุจุดหมายของชิ้นงานอย่างเหมาะสม
            3. การกำกับดูแลกระบวนการ (Process monitoring) คือ การติดตามควบคุมแต่ละกระบวนการแต่ละขั้นตอนในการนำทักษะ กลวิธีไปใช้สร้างสรรค์งานชิ้นงานอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดยใช้เวลาและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
            4. การกำกับดูแลการปฏิบัติของตน (Disposition monitoring) คือ เป็นคน ปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อให้งานเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เช่น การให้ความสำคัญกับงานมุ่งเน้น ผลผลิตที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ความเป็นระบบ มีแรงจูงใจในการทำงาน มีส่วนร่วมในการทำงาน ฯลฯ
            แนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive system) ของ Marzano กล่าวสรุปองค์ประกอบ การเรียนรู้ของระบบอภิปัญญาได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การกำหนดจุดหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals) 2) การกำกับติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the Execution of Knowledge)  3) การดูแลติดตามความชัดเจน (Monitoring Clarity) และ 4) การกำกับติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy)
            แนวคิดการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดร่วมกับปัจจัยที่ ส่งผลต่อการคิดของผู้เรียน ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษาที่มาร์ซาโน (Marzano) พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ระบบ ได้แก่ 1) Self – System คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในตนเองในการปฏิบัติภาระงานชิ้นงานด้วยความ เต็มใจตั้งใจมีความสุข และมีความมุ่งหวังให้งานเกิดความสำเร็จ 2) Meta-cognitive System คือ ระบบการ ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน ที่เกิดขึ้นให้บรรลุผล ด้วยการการกำหนดจุดหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals) การดูแลติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the Execution of Knowledge) การดูแลติดตามความชัดเจน (Clarity) และการดูแลติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy) และ 3) Cognitive System คือ กระบวนการทางปัญญา (Mental Process) ที่จะปฏิบัติ ภาระงานชิ้นงานสำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System) ถือเป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self - Directed Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติ ภาระงานชิ้นงาน ตามจุดหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ ยุทธวิธีและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการติดตามดูแลปรับปรุงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงาน ชิ้นงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอน

เพิ่มเติม  แนวคิด MARZANO




มาร์ซาโน (MARZANO. 2001 : 30 – 58) ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ (A New Taxonomy of education objectives) ประกอบด้วยความรู้ 3 ประเภท และกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูล 6 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ข้อมูล เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยาก เป็นระดับความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริง ลำดับของเหตุการณ์ สมเหตุสมผล เฉพาะเรื่อง และหลักการ
2. กระบวนการ เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้ จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติ อันเป็นส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้
3. ทักษะเน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อ จากทักษะง่าย สู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้น โดยมีกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูล 6 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นรวบรวม เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิม รับข้อมูลใหม่ และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้ เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจาถาวรสู่ความจำ  นำไปใช้ในการปฏิบัติการโดย ไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างความรู้นั้น
ระดับที่ 2 ขั้นเข้าใจ เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้ สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็น ความสำคัญ
ระดับที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ เป็นการจำแนกความเหมือนและความต่างอย่างมี หลักการการจัดหมวดหมู่ ที่สัมพันธ์กับความรู้ การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ ข้อผิดพลาดได้ การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้ และการคาดการณ์ผลที่ ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่ 4 ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคาตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุปการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐานนั้น บนพื้นฐานของความรู้
ระดับที่ 5 ขั้นบูรณาการความรู้ เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมาย การเรียนรู้ที่กำหนด การกำกับติดตามการเรียนรู้ และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ 6 ขั้นจัดระบบแห่งตน เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อสภาวการณ์เรียนรู้ และภาระงานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้ รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี ดังปรากฏตามภาพด้านบน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...