วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน


จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน

          Harris and Carr (1996 รุ่งนภา นุตราวงศ์ผู้แปล 2545 : 14-16) ให้คําจํากัดความของมาตรฐาน เนื้อหา(content standard) และมาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน (student performance standards) ดังนี้
มาตรฐานเนื้อหา (content standard) ระบุองค์ความรู้ที่สําคัญ ทักษะและพัฒนาการด้านจิตใจ ดังนี้
          1. องค์ความรู้ที่สําคัญ (essential knowledge) ระบุถึง แนวความคิด ประเด็นปัญหา ทางเลือก กฎเกณฑ์ และความคิดรวบยอดในวิทยาการต่าง ๆ ที่สําคัญ ตัวอย่างเช่น
         - ผู้เรียนสามารถอธิบายช่วงเวลา และเหตุการณ์สําคัญในประวัติศาสตร์ และวิเคราะห์ช่วงเวลา การเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น ชุมชน ในประทศและในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
         - ผู้เรียนสามารถเข้าใจประวัติความเป็นมา และโครงสร้างของภาษาอังกฤษ (ประโยค ย่อหน้าบทความ)  
         - ผู้เรียนสามารถเข้าใจธรรมชาติและการทํางานของเซลล์ ทั้งการทํางานเป็นเอกเทศและการ ทํางานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน 
          2. ทักษะ (Skills) เป็นวิธีการคิด การทํางาน การสื่อสาร และการศึกษาสํารวจ ตัวอย่าง
          - ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยาย และอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
          - ใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตีความ เปรียบเทียบ และสรุปผล เกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในสังคม
          3. พัฒนาการด้านจิตใจ (Habits of mind) การเรียนรู้และประสบการณ์จากการศึกษาทั้งใน โรงเรียนและนอกโรงเรียน มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใตของผู้เรียน รวมถึงกระบวนการในการศึกษาค้นคว้า การแสดงข้อมูล หลักฐานสนับสนุนความคิด การอภิปรายโต้แย้ง และความพึงพอใจในการทํางานร่วมกับผู้อื่น ตัวอย่าง
          - ผู้เรียนสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยการสร้างเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินงานที่มีคุณภาพ
          - ผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถในการทํางานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้นํา และความมั่นคงในตนเอง
มาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน
          มาตรฐานการปฏิบัติ (student performance standards) จะบอกถึงคุณภาพ โดยที่มาตรฐานเนื้อหาจะ ระบุถึงสิ่งใดที่ผู้เรียนควรรู้ และทักษะใดที่ผู้เรียนควรทําได้ มาตรฐานการปฏิบัติจะบอกถึงระดับคุณภาพและ ระดับที่ผู้เรียนต้องรู้หรือต้องทําสิ่งนั้นได้ ตัวอย่าง
กรณีที่มาตรฐานเนื้อหาระบุว่า ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลจากสื่อ ภาพ และบทอ่านจากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
          มาตรฐานการปฏิบัติ อาจจะระบุว่า ผู้เรียนควรอ่านหนังสืออย่างน้อยที่สุด 25 เล่ม ต่อปี เลือกอ่าน บทอ่านที่มีคุณภาพทั้งที่เป็นเรื่องอมตะ และเรื่องราวที่ทันสมัย จากหนังสือวรรณกรรมสําหรับเด็ก หรือจาก แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น จาก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียน และสื่อเทคโนโลยี
Wiggins (1994) จัดกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ไว้กลุ่ม คือ
          1. มาตรฐานผลลัพธ์หรือผลกระทบ (Impact) เป็นมาตรฐานที่ระบุผลที่ต้องการจากการ ปฏิบัติงานใดงานหนึ่งของผู้เรียน เช่น กําหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ ผู้ฟัง หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนอนาคต เป็นต้น
          2. มาตรฐานกระบวนการ (Process) เป็นมาตรฐานที่สะท้อนยุทธวิธี เทคนิควิธีการ ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น มาตรฐานที่กําหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์อย่างชัดเจน หรือใน สื่อสารได้อย่างสละสลวยสัมพันธ์กัน หรือให้ผู้เรียนใช้กระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างหอ กฎเกณฑ์
          3. มาตรฐานเนื้อหา (content) เป็นมาตรฐานที่ระบุเนื้อหาสาระ ความคิดรวบยอด และข้อมูลต่าง ๆ เช่น    ผู้เรียนรู้สมบัติของสสาร มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย ต้องการของตลาด เป็นต้น
          4.มาตรฐานที่แสดงกฎหรือรูปแบบ (Rule or form) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับสูตร กฎเกณฑ์ซึ่งมี รูปแบบเฉพาะ ปริมาตร ปริมาณ อัตราส่วน ตัวอย่าง ผู้เรียนสร้างกราฟ ซึ่งมีข้อมูลกํากับและใช้สีได้อย่าง ถูกต้อง มาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

           การกําหนดมาตรฐานในหน่วยการเรียนให้มาจากหลายมาตรฐาน จึงจะช่วยให้กิจกรรมการเรียน การสอนและการประเมินมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น การกําหนดมาตรฐานที่เป็นกระบวนการก็จะไม่มี ความหมายหากไม่มีเนื้อหา หรือการกําหนดมาตรฐานที่เน้นเนื้อหาเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ประโยชน์แก่ ผู้เรียนเท่าที่ควร หากไม่มีการนํากระบวนการนําไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...