วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนรู้เเบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)


การเรียนรู้เเบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)

แนวคิดในการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learning
         การจัดการเรียนรู้แบบทีม (Team-Based Learning) หรือการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐานเป็น
รูปแบบการสอนที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนา โดยนักการศึกษาชาวอเมริกา คือ Larry K. Michaelsen จาก University of Oklahomaต่อมามีผู้สนใจนำไปใช้แพร่หลาย โดยโรงเรียนแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 77 แห่งใช้วิธีนี้ รวมทั้งโรงเรียนพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆด้วยเป้าหมายของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learningมีดังนี้
1. สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักของรายวิชา
2. พัฒนาความสามารถด้านการคิด และการแก้ปัญหา
3. เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. ส่งเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้

หลักการสำคัญ 4 ประการ ของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learning 
1. Group Formation มีการจัดทีมอย่างเหมาะสม คือ แบ่งทีมย่อย ตามทักษะและความสามารถ
อย่างหลากหลาย กลุ่มละ 7-12 คนและควรเป็นทีมถาวร
แนวทางการจัดการเรียนรู้: ร่วมจัดทีมอย่างเป็นทางการในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน
   1.1 ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดคุณลักษณะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่นทักษะผู้นำ การ
สืบค้น การคิดวิเคราะห์การนำเสนอ เป็นต้น
   1.2 ครูช่วยดูแลการจัดกลุ่มเพื่อลดปัญหาด้านความขัดแย้ง และการเลือกปฏิบัติ การไม่แยก
ออกจากกลุ่มเพื่อน ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้การท างานต่างวัฒนธรรม ต่างความคิด ต่างมุมมอง
   1.3 จัดคนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมา ตามข้อ 1.1 ให้มีการกระจายคุณสมบัติที่จำเป็นของ
ผู้เรียนครบทุกกลุ่ม
   1.4 การจัดกลุ่มควรเป็นกลุ่มถาวร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการตามลำดับปัญหาที่พบ
ในแต่ละกลุ่ม
2. Accountable ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน การช่วยเหลือกันในการทำงานของทีมโดยต้องร่วมรับผิดชอบทั้งในงานส่วนตัวและงานกลุ่มแนวทางการจัดการเรียนรู้: มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้า หรือจัดให้มีการศึกษารายเดี่ยวก่อนเข้ากลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
   2.1 มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้าด้วยการกำหนดขอบเขตหรือเป้าหมายของ
การศึกษาให้ชัดเจน
   2.2 ทำแบบทดสอบรายเดี่ยวก่อนการเรียนรู้เพื่อทดสอบและกระตุ้นการเตรียมความพร้อมของ
ผู้เรียนก่อนการเข้าแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
   2.3 นำแบบทดสอบเข้าไปปรึกษาในกลุ่ม อภิปรายเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดจากกลุ่ม
กระบวนการนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกัน ก่อนได้คำตอบของกลุ่ม
   2.4 สะท้อนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านกลุ่ม
   2.5 ครูสะท้อนความคิด และให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่กลุ่มอภิปรายแล้วมีข้อขัดแย้ง ไม่
ชัดเจนหรือไม่ครอบคลุมและเสริมแรงในกรณีที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมาะสม
3. Assignment Quality การมอบหมายงานจะต้องเน้นทั้งด้านผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายรายวิชาที่กำหนดไว้และด้านผลจากการท างานเป็นทีมแนวทางการจัดการเรียนรู้:มอบหมายใบงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน ที่เน้นทั้งเป้าหมายวิชาและกระบวนการกลุ่ม
   3.1 การมอบหมายงานต้องเน้นการเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กลุ่ม
   3.2 มอบหมายสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้ทีมได้ตัดสินใจภายใต้แนวคิดและ
วัตถุประสงค์ของรายวิชาที่เรียนรู้
 ทั้งนี้ลักษณะของงานที่มอบหมายในการเรียนรู้ ควรประกอบด้วยหลักการ 4 Ss
      3.2.1 Significant Problem เป็นปัญหาที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้นั้น
      3.2.2 Same Problem ปัญหาเดียวกันในทุกกลุ่ม
      3.2.3 Specific Choice มีทางเลือกหรือแนวทางแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง
      3.2.4 Simultaneous Reporting รายงานพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน
   3.3 การนำเสนอผลการเรียนรู้ อาจจะเป็นการนำเสนอปากเปล่าหรือรายงานก็ได้ แต่ต้องไม่
ยุ่งยากซับซ้อน หรือใช้เวลาในการเรียนการสอนมากเกินไป
   3.4 นอกจากการอภิปรายในกลุ่มแล้ว ควรจัดให้มีการอภิปรายระหว่างกลุ่มด้วย
4. Timely feedback ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการ feedback อย่างทันเวลาและสม่ำเสมอ
แนวทางการจัดการเรียนรู้:ประเด็นในการ feedback ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ
ครอบคลุมทั้งผลการเรียนรู้และผลของกระบวนการกลุ่ม
   4.1 ผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาของทีม
   4.2 การ feedback ต้องเกิดขึ้นทันทีหลังจากกระบวนกลุ่มทุกครั้ง
   4.3 การ feedback ต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดกระบวนการเรียนรู้และมีการติดตาม
พัฒนาการในการทำงานเป็นทีมแต่ละประเด็นที่เคยเป็นปัญหาทั้งนี้กระบวนการในการ
ประเมินผลและสะท้อนคิดมีจุดเน้นดังนี้
      4.3.1 ให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายรายวิชา
      4.3.2 ให้ผู้เรียนสะท้อนตนเองและกลุ่มเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม
      4.3.3 ผู้สอนสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
      4.3.4 การประเมินผลการเรียนรู้ควรประเมินครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตาม
เป้าหมายรายวิชาและครอบคลุมทักษะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การ
คิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...