การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The Solo taxonomy
The
Solo taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดง
คุณสมบัติในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียนเป็นชุดของเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นระบบนำมาช่วยอธิบายว่าผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อรวบรู้ที่มีความปฏิบัติเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้Solo
taxonomyในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
Solo
taxonomyคือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือผู้จะมีวิธีการอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น
เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and
collis (1982)เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อร่วมหรือที่มีความหลากหลายของเข้าหน้างานทางวิชาการโดยมีนิยามจุดประสงค์ของหลักสูตรในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้Solo taxonomya จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียน
ตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น
แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา
การประเมินความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน
ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งให้เป็น 5 ระดับ
(1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural)
(2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว(Uni-structural)
(3) ระดับโครงสร้างหลาย(Multi-structural)
(4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
(Relational)
(5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
(Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs and Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
2. ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับดังนี้
· ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐานนักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วนส่วนที่ไม่ปะติดปะต่อกันไม่มีการจัดการข้อมูลและความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
· ระดับโครงสร้างเดี่ยวผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานง่ายต่อการเข้าใจแต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
· ระดับโครงสร้างหลากหลายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆชนิดเข้าด้วยกันความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
· ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
· ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาพขยายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO
Taxonomy คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
เพื่อความเข้าใจและการนำมโนทัศน์ SOLO Taxonomy ไปใช้ บิกส์ได้สรุปไว้ดังตาราง 25
ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ Solo taxonomy
การปรับใช้ Solo taxonomy กับแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมายอาทิ
ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไรครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดจะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถและการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้สรุปได้ว่า
ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(ความมุ่งมั่น/เจตนา)
(การเรียนรู้) (ผลผลิต)\
การทดสอบสมรรถนะ
=>ILO’s =>การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการILOในการบรรลุผลการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
Solo
taxonomy เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่างๆดังตัวอย่างต่อไปนี้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
Solo
4: การพูดอภิปรายสร้างทฤษฎีทำนายหรือพยากรณ์
Solo
3: อธิบายวิเคราะห์เปรียบเทียบ
Solo
2: บรรยายรวมกันจัดลำดับ
Solo
5: ท่องจำระบุคำนวณ
บทบาทของการสอบ
การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อนแนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพหรือผลผลิตของการสอนนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน(ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดการสอบคล้ายกับการปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้ายเป็นการสร้างแรงจูงใจและแนวทางในการเรียนรู้ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้การจัดการสอนของครูผู้สอน
การจัดลำดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม( bloom's
taxonomy 1956 ) เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด Solo
taxonomy ของBiggs and Collis 1982
Solo
1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้(จำ)ความเข้าใจและการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
Solo
3 และ 4
สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่างการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
ระดับ Solo 1 หมายถึงการเรียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิมการเขียนแผนจะยึดตำราเป็นหลักธรรมแบบฝึกหัดตามหนังสือจัดกิจกรรมซ้ำๆใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปไม่มีการประเมินการใช้จริง
ระดับ Solo 2 หมายถึงการปรับประยุกต์ใช้การนำแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยคำนึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เน้นที่จะดีมากกว่าการปฏิบัติ
ระดับ Solo 3 หมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่การเขียนแผนที่คำนึงถึงพฤติกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การเขียนแผนแนวทางมหภาคใช้ผลงานการวิจัยประกอบการสอนเน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย 1.00 ถึง 1.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The
studies model ระดับต่ำ/ปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย 1.50 ถึง 2.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe
studies model ระดับปานกลาง/พอใช้
ค่าเฉลี่ย 2.50 ถึง 3.00 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe
studies model ระดับสูง/ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น