องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
วงกลมชั้นที่ 1 องค์ประกอบที่มีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อยู่ใจ ภาพ
เป็นจุดศูนย์รวมของกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียนและในโรงเรียน
การเรียนรู้ของผู้เรียนได้รับ ทธิพลโดยตรงจากองค์ประกอบที่อยู่ในวงกลมชั้นที่
ประกอบด้วยหลักสูตร-เนื้อหาของสิ่งที่สอน วิธีการ -
ใช้และการวัดผล(แบบวินิจฉัย)การเรียนรู้ของผู้เรียน
Glickman (1998) เสนอแนะว่า
ให้ดูจุดศูนย์กลางของวงกลมต่างๆ ที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ศูนย์กลาง รหมาย
วงกลมในสุดเป็นความพยายามของชั้นเรียนและโรงเรียนที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้
ขึ้นแก่ผู้เรียนทุกคน วงกลมชั้นที่ 1 การเรียนรู้ของผู้เรียนสัมพันธ์กันโดยตรงกับ
เนื้อหาที่นํามาสอน วิธีการสอน และกลวิธีที่นํามาใช้ในการประเมิน
วงกลมชั้นที่ 2 องค์ประกอบซึ่งจัดระบบภาระงานของผู้นํา (การเรียนรู้) ที่ทําต่อครูผู้สอน
ซึ่งการ ปรับปรุงการสอนในชั้นเรียนประกอบด้วย จุดมุ่งเน้น
(ต้องใส่ใจในเรื่องใดบ้างในการปรับปรุงการสอน การ สังเกตชั้นเรียน และการใช้ข้อมูล
ผลสัมฤทธิ์ และการพิจารณาตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน) แนวทางที่จะทํา ร่วมกับครู
และโครงสร้างและรูปแบบ เพื่อจัดระบบภาระงานการปรับปรุงการสอน
จากภาพวงกลมชั้นที่ 2 จุดศูนย์กลางเดียวกันกับวงกลมแรกเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนในชั้นเรียน
มุ่งที่จุดเน้นที่ผู้สอนกําหนดให้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้
ต่อมาพิจารณาแนวทาง-วิธีการดําเนินการระหว่าง บุคคล(วิธีการสั่งการและควบคุม
วิธีการสั่งการและให้ข้อมูลวิธีการแบบร่วมคิดร่วมทํา และวิธีไม่สั่งการ) ซึ่ง
จะใช้กับครูที่จัดการสอนในชั้นเรียนโดยตรง และโครงสร้างและรูปแบบของวิธีการต่าง ๆ
ได้แก่ การนิเทศ แบบคลินิก เพื่อแนะเพื่อน เพื่อผู้ติชม
และกลุ่มวิจัยเชิงปฏิบัติการตามตารางที่กําหนดพร้อมสิ่งอํานวยความสะดวก
วงกลมชั้นที่ 3 องค์ประกอบซึ่งส่งเสริมให้การดําเนินงานครอบคลุมบริบทการปรับปรุงการสอน
ประกอบด้วย ลําดับความสําคัญในการปรับปรุงโรงเรียน
ที่ได้จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและความจําเป็น เร่งด่วนในการพัฒนาโรงเรียน
แผนการพัฒนาวิชาชีพ ทรัพยากรและระยะเวลา และการประเมินผลวิธีการ และสิ่งที่ผู้เรียนกําลังเรียนรู้อยู่
และวิธีการใช้ข้อมูลจากการประเมินเป็นแนวทางในการดําเนินงานจําเป็น
เร่งด่วนของโรงเรียนต่อไป
จากภาพวงกลมชั้นที่3 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ
กระบวนการปฏิรูปการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งหมดที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
ที่เป็นลําดับ ความสําคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ถัดมาเป็นการพัฒนาด้านวิชาชีพครู
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งไปที่ครู ทุกคน
และสุดท้ายการประเมินผลทั้งการประเมินระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งหมด
Glickinan, Carl D (2002 นักแปลเครือข่ายของกรมวิชาการ 2546
:131) สรุปคําถามนําเพื่อ
เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับภาพองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร
จะบรรลุเป้าหมายของโรงเรียนได้อย่างไร และใช้เป้าหมายนี้ อย่างไร (ช)
2. แผนพัฒนาวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร
แผนนี้เปิดโอกาสให้
บุคคลภายนอกตรวจสอบการสอนของผู้สอนและการเรียนของผู้เรียนได้อย่างไร (0)
3.ประเมินความก้าวหน้าทั้งหมดมุ่งสู่เป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งโรงเรียนได้อย่างไร
สอบ
4. อะไรคือจุดมุ่งเน้นในการสอนและการเรียนรู้ที่ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติ
(9)
5. จะใช้รูปแบบการนิเทศแบบใด (แบบคลินิก
แบบเพื่อนแนะเพื่อน แบบกลุ่มวิจัย ฯลฯ) และ เครื่องมือใด (การสังเกต
ผลงานที่ได้รับมอบหมาย การปฏิบัติ แฟ้มผลงาน ฯลฯ) (ช)
6. จะใช้วิธีการอะไรในการทํางานร่วมกับผู้อื่น
(แบบไม่สั่งการ แบบร่วมคิดร่วมทํา แบบสั่งการ และให้ข้อมูล แบบสั่งการและควบคุม) (2)
7.ผู้สอนแต่ละคนจะมีการปรับเปลี่ยนอะไร
ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (ง) 8. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างไร
(ค)
9. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนเนื้อหาที่สอนอย่างไร
(ข)
การใช้คําถามนํานี้จะต้องคิดพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอาจด้วยตนเองหรือร่วมกันในการวางแผน เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอน พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และการ พัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ
Ghaye, Anthony (1998) กล่าวสรุปไว้ว่า
การเรียนการสอนนั้นสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการ ทบทวนตนเอง
กระบวนการทบทวนตนเองทําให้ครูเข้าใจการสอนของตัวเอง เข้าใจว่าอะไรสามารถทําได้
และอะไร ได้น้อย ช่วยให้ตัดสินใจอย่างฉลาด
และเข้าใจความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและใน โรงเรียนได้
กระบวนการในการทบทวนตนเองจะก้าวหน้าไปได้ต้องอาศัยกรอบโครงสร้างที่ดี ความท้าทาย
และแรงสนับสนุน
การทบทวนตนเองหลังการสอนไม่ได้เป็นเป็นเพียงการเรียนรู้จากประสบการณ์ของใคร
คนใดคนหนึ่งเป็นการส่วนตัวตามลําพัง แต่เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่มีศักยภาพที่จะช่วยให้ครูรู้แจ้งเห็นจริง
และมีความมั่นใจในการทํางาน การทบทวนตนเองเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์
สามารถช่วยให้ครูมี วิสัยทัศน์ มองเห็นภาพการเรียนการสอนที่ดี
และประคับประคองและทะนุบํารุงสถานภาพที่ดีเช่นนั้นไว้ได้
กระบวนการทบทวนตนเองจะต้องปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอ
การจะปฏิบัติให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องปฏิบัติ อย่างสม่ําเสมอ
และการทบทวนตนเองหลังการสอนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งข้อสงสัยหรือทบทวนสิ่งที่ครู
และโรงเรียนปฏิบัติอยู่เป็นการถามถึงวิธีการและเป้าหมายของการศึกษา
Schon, (1983) อธิบายว่า
การใช้ความคิดพิจารณาระหว่างการเรียนการสอนเรียกว่า “การทบทวน
ตนเองระหว่างการสอน” (reflection-in-action) ส่วนการคิดไตร่ตรองหลังการเรียนการสอน
เรียกว่า “การ ทบทวนตนเองหลังการสอน”
(reflection on practice) ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ได้จบลงแล้ว
เมื่อครู ได้มองย้อนหลังไปคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น