แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างกันจําเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน
ตาม แนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner อ้างใน
วิชัย วงษ์ใหญ่, 2542 : 8 -11) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ได้นําเสนอ ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านภาษา
ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวด้านดนตรี
ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ
การเสริมสร้างความเก่งหรือศักยภาพความสามารถ ด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียน
ผู้สอนจะต้องเข้าใจผู้เรียน รู้ถึงความถนัดความสามารถในการเรียนรู้ หลากหลาย
ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจะกระตุ้นความสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้สอนให้
ความเด่นชัดปรากฏออกมาด้วยความรู้ความเข้าใจ ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจ
มีความอดทน ประเมินจากผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
การพัฒนาความสามารถผู้สอนจึงมีหน้าที่ค้นหาความสามารถของผู้เรียนว่าเด่นและด้อยในเรื่องใดบ้าง
เพื่อจัดกิจกรรมสนับสนุนช่วยเหลือความสามารถในแต่ละด้านของตน
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 มาตรา 23 ระบุว่า การมาต้องเน้นความสําคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ ซึ่งวิชัย วงษ์ใหญ่ กล่าวว่า การบูรณาการ คือ
การผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ ระหว่างองค์ประกอบหรือ สงสัยต่างๆ
ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน
เพื่อให้ได้มาสิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีคุณค่าและสมบูรณ์แบบ
โดยมีอัตราส่วนผสมที่มอบหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยและด้วยวิธีการที่มี
ประสิทธิภาพ จะได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
การบูรณาการการเรียนรู้
คือ การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร จะช่วยให้ผู้เรียน
ตระหนักว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็น หน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
หน่วยบูรณาการ thematic approach จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ
-
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
-
เกิดองค์ความรู้ ความคิดแบบองค์รวม พัฒนาความสามารถการคิด
-
เห็นความเชื่อมโยง นําไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
-
เกิดประสบการณ์ นําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
-
ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 4) กล่าวสรุปไว้ว่า ลักษณะการบูรณาการ 4 แบบ คือ
1.
การสอดแทรก (infusion) การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว
วิธีการสอดแทรกนี้ ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนําวิชาอื่น ๆ
มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง ชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กําหนดขึ้นมา
2.
คู่ขนาน (paralel) วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชามาวางแผนร่วมกัน
เพื่อรวม องค์ประกอบของหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (concept) หรือปัญหา (problem) แล้วผู้สอนแต่ละคน แต่ละ
วิชาแยกกันและการกําหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอน
แต่ต้องสะท้อนถึงหัวเรื่องแนวคิดหรือปัญหาที่กําหนดไว้ ร่วมกัน การบูรณาการแบบคู่ขนานในการสอน
ผู้สอนอาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่
สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมและชีวิตที่มีการเชื่อมโยงคู่ขนาน เช่น
ผู้สอนวิทยาศาสตร์จะสอนเรื่องเงา
ผู้สอนศิลปอาจจะให้ผู้เรียนรู้เทคนิคการวาดรูปที่มีเงา
3.
พหุวิทยาการ (multidisciplinary) วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจากหลายสาขาวิชามา
วางแผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์
( concept) หรือปัญหา (Problem) และกําหนด
ภาพรวมของโครงการร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อย
การบูรณาการในหลายสาขาผู้สอนร่วมมือกันสอนเป็นแบบโครงการ
สามารถวางแผนสร้างสรรค์โครงการของตนเองขึ้นมาได้
4.การข้ามวิชาหรือการสอนทีม
(transdisciplinary) วิธีการข้ามวิชาหรือสอนเป็นทีมผู้สอนแต่ละรายวิชามาวางแผนร่วมกันในองค์ประกอบ หัวเรื่อง มโนทัศน์ หรือปัญหา กำหนดเป็นโครงการขึ้นมาและร่วมกันสองเป็นคณะ
กรมวิชาการ
(กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 6 - 7) เสนอแนวคิดในการจัดการ การสอนแบบบูรณาการไว้ดังนี้
1.
การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคน มีการ
เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับชีวิตจริง หรือการเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระ
ต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน คิดคํานวณ การคิดวิเคราะห์
ทําให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้
ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กําหนด
2.
การบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนสองคนขึ้นไป
ร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เช่น
ครูคนหนึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนครูอีกคน หนึ่งสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนเรื่อง“น้ำ” วิชาวิทยาศาสตร์อาจสอนเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ สถานะต่างๆ ส่วนวิชาคณิตศาสตร์อาจสอนการวัดปริมาตร หรือน้ําหนักของน้ำ
3.
การบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการจัดการเรียนการสอนจากการนําเนื้อหาจากหลายกลุ่ม
สาระมาเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น
ในวันสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย
จัดการเรียนการสอนให้เรียนรู้คําศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าหา
ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและวิชาสุขศึกษาให้เรียนรู้โดยทํากิจกรรมชมรม
สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4.
การบูรณาการแบบโครงการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกัน สร้างสรรค์โครงการ
และใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง โดยการนําจํานวนชั่วโมงของแต่ละรายวิชา
ที่แยกกันอยู่ ที่เคยแยกกันสอน มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน กําหนดเป้าหมายเดียวกัน
ในลักษณะของการสอน เป็นทีม ถ้าต้องการเน้นทักษะเฉพาะก็สามารถแยกกันสอนได้ เช่น
กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ กิจกรรมค่าย ศิลปะ เป็นต้น
วิชัย
วงษ์ใหญ่ (2547 : 5) สรุปภาพรวมของรูปแบบเรียนการสอนแบบการบูรณาการ วิธีการ
กิจกรรม การประเมินผล และผลการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น