วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข้อมูลเพิ่มเติม


ข้อมูลเพิ่มเติม

Universal Design for Learning Guidelines (UDL)

      UDL เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งการนำ UDL มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีนั้นก็เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการที่หลากหลาย



 UDL จะแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ 
1. Representation (การนำเสนอ) ซึ่งเป็นการนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง ภาพ หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่สำผัสได้ ซึ่งใช้ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ อาจจะใช้เป็นภาษาหรือสัญลักษณ์ที่หลาหลาย
2. Action & Expression  (การสื่อสาร) คือการให้โอกาสในการแสดงออกที่หลากหลาย ทั้งการใช้ร่างกาย การใช้คำพูด หรือการใช้การทำงานของสมองระดับสูง
3. Engagement (การผูกมัด) ในที่นี้หมายถึง การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้คนมาสนใจ ซึ่งเป็นการสร้างความสนใจโดยให้อิสระในการเลือก สนับสนุนให้มีความพยายามในการทำงาน


การเรียนแบบท่องจำ หรือ Rote Learning 

    ครูคิดว่าสอนให้นักเรียนท่องจำนั้นไม่ดี...สอนให้เข้าใจจะดีกว่า...หรือสอนการหาความรู้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้อยู่กับตัว...นักเรียนเลยไม่ชอบการจำ...จำไม่ได้ว่าได้เรียนรู้อะไร...จำไม่ได้ว่าหาความรู้ได้ที่ใหน...ไม่มีความรู้อยู่กับตัว...เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ความรู้อย่างรวดเร็วจึงมีการตอบสนองเหมือนคนไม่มีความรู้หรือไม่มีการศึกษาทั้ง ๆ ที่มีปริญญา...การท่องจำทำให้ระลึกได้อย่างเร็ว มีการตอบสนองอย่างเป็นอัตโนมัติ...กลับมาท่องอาขยาน อ่านนิทานร้อยบรรทัดกันดีกว่า
      การเรียนแบบท่องจำนั้นถูกโจมตีจากนักการศึกษาในปัจจุบันว่าไม่สร้างปัญญาให้กับผู้เรียน เป็นการสอนแบบเก่า ล้าสมัย นักเรียนท่องเนื้อหาที่เรียนได้แบบนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้ความหมายเป็นสิ่งไม่ดีในกระบวนการของการเรียนการสอน ดังนั้นการท่องบทอาขยาน อ่านนิทานร้อยบรรทัด จึงไม่มีในหลักสูตรและการเรียนการสอนในปัจจุบัน ความคิดนี้ถูกสั่งสอนถ่ายทอดไปยังอาจารย์มหาวิทยาลัยในคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ที่เป็นครูของนักศึกษาครูซึ่งเป็นผู้ที่จะจบออกไปเป็นครู และสุดท้ายกระบวนการไม่ชอบการจำถูกถ่ายทอดไปถึงนักเรียน และไปถึงประชาชน คนไทยเลยไม่ชอบจำ และมีทัศนะไม่ดีต่อการจำ รวมทั้งไม่สนใจเรื่องราวที่ต้องใช้ความจำ เช่น ประวัติศาสตร์ อีกด้วย
      ความสับสนระหว่างการสอนให้ "ท่องจำ" กับการสอนให้ "จดจำ" ของครูจึงเกิดขึ้น ส่งผลให้นักเรียนไม่ชอบการจำและคิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องจำ การสอนให้จำไม่สำคัญเท่ากับการสอนให้เข้าใจ ยิ่งปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ช่วยบันทึกข้อมูลช่วยจำได้มาก และมี Internet ช่วยสืบค้นจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วจึงสนับสนุนการ "ไม่ท่องจำ" และ "ไม่จดจำ" ขึ้นมาอีก เดี๋ยวนี้หลายคนจำเบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญของตัวเองไม่ได้ เพราะบันทึกไว้ในเครื่องโทรศัพท์ให้ช่วยจำไว้ให้ เมื่อเครื่องโทรศัพท์มีปัญหาหรือสูญหายก็ไม่สามารถติดต่อใครได้เพราะไม่ได้จำไว้ในสมอง
    กระบวนการเรียนการสอนปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญของการจำ นักเรียนจึงไม่มีความรู้ติดตัว ไม่มีอะไรในสมอง เรียนจบก็ผ่านไป ไม่จดจำอะไรไว้จำไม่ได้ว่าความรู้อยู่ที่ไหน รวมทั้งจำไม่ได้ว่าได้เคยเรียนรู้อะไรและอย่างไรอีกด้วย เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ความรู้อย่างทันทีทันใด จึงมีการตอบสนองเหมือนคนไม่มีความรู้หรือเป็นคนไม่มีการศึกษาทั้ง ๆ ที่จบปริญญา หรือมีประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความสามารถจากสถาบันการศึกษา


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.. 1950 ศูนย์วิจัยของ IBM ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงาน ด้านจิตวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.. 1958 มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์ และสถิติ พร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ปี ค.. 1960 มหาวิทยาลัยอิลินอย จัดทำ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านจิตวิทยาการศึกษา และวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI
ปี ค.. 1970 มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในทวีปยุโรป โดยฝรั่งเศษ และอังกฤษ เป็นผู้เริ่มต้น
ปี ค.. 1671 มหาวิทยาลัย Taxas และ Brigcam Young ร่วมกันพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการ TICCIT - Time-shared Interactive Computer Controlled Information Television
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
 ความหมายของ CAI
สำหรับคำว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือโปรแกรมช่วยสอน คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอันหนึ่ง CAI คล้ายกับ สื่อการสอนอื่น ๆ เช่น วิดีโอช่วยสอน บัตรคำช่วยสอน โปสเตอร์ แต่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะดีกว่าตรงที่ตัวสื่อการสอน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั้น สามารถโต้ตอบกับนักเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับคำสั่งเพื่อมาปฏิบัติ ตอบคำถามหรือไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นฝ่ายป้อนคำถาม (นัยนา เอกบูรณวัฒน์2539)
-  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Instruction) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้น เพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือแบบการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรง ไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่องพร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา การเรียนในลักษณะนี้ ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบ หรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ การตอบคำถามจะถูกประเมินโดยคอมพิวเตอร์ และจะเสนอแนะขั้นตอนหรือระดับในการเรียนขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ศิริชัย สงวนแก้ว2534)
-  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมการเรียน การเรียนการสอนที่ผ่านคอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ตาม กล่าวได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI มีคำที่ใช้ในความหมายเดียวกันกับ CAI ได้แก่ Computer-Assisted Learning (CAL) , Computer-aided Instruction (CaI) , Computer-aided Learning (CaL) เป็นต้น (Hannafin & Peck, 1988)
-  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนซีเอไอ (Computer-Assisted Instruction; Computer-Aided Instruction : CAI) คือ การจัดโปรแกรมเพื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นสื่อช่วยถ่ายโยงเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียน และปัจจุบันได้มีการบัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกสื่อชนิดนี้ว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน” (วุฒิชัย ประสารสอน2543)
จากความหมายดังกล่าว สามารถสรุปความหมายของ “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” หรือ CAI คือ การนำคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องมือสร้างให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปเรียนด้วยตนเองและเกิดการเรียนรู้ ในโปรแกรมประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ลักษณะของการนำเสนอ อาจมีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว สีหรือเสียง เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการแสดงผลการเรียนให้ทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียน และยังมีการจัดลำดับวิธีการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละคน ทั้งนี้จะต้องมีการวางแผนการในการผลิตอย่างเป็นระบบในการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน
นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองยังมีลักษณะที่เรียกว่า บทเรียนสำเร็จรูป แต่เป็นบทเรียนสำเร็จรูปโดยการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทต่าง ๆ ทำให้บทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์มีศักยภาพเหนือกว่าบทเรียนสำเร็จรูปในรูปแบบอื่น ๆ ทั้งหมดโดยเฉพาะมีความสามารถที่เกือบจะแทนครูที่เป็นมนุษย์ได้ มีขั้นตอนการสร้าง และการพัฒนาบทเรียนเช่นเดียวกับบทเรียนสำเร็จรูปประเภทอื่น ๆ (ไพโรจน์ ตีรณธนากุล2528)
        จากลักษณะของสื่อที่เป็น บทเรียนสำเร็จรูป และสื่อที่เป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงสามารถสรุปเป็นความหมายของ บทเรียนสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์การสอน (Computer Instruction Package :CI Package ) ว่าหมายถึง บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นในลักษณะซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) นำไปสอน (Instruction) เนื้อหาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนบทเรียน หรือนำเสนอบทเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถของตนเอง ในบทเรียนมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จุดเด่นที่สำคัญของบทเรียน คือ การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะหลายสื่อ (Multimedia) ได้แก่ประเภท ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพวิดีโอ (Video) และเสียง (Audio) โดยที่ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับบทเรียนโดยผ่านเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา (ศิริชัย นามบุรี2542)
        คำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียก คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ Computer Assisted Instruction (CAI), Computer Aided Instruction (CAI), Computer Assisted Learning (CAL), Computer Aided Learning (CAL), Computer Based Instruction (CBI), Computer Based Training (CBT), Computer Administered Education (CAE) , Computer Aided Teaching (CAT) แต่คำที่นิยมใช้ทั่วไปในปัจจุบันได้แก่ Computer Assisted Instruction หรือ CAI หรือสื่อซีเอไอ
ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
        คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอนมาผสมผสานกัน รูปแบบของสื่อ ถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ข้อมูลการเรียนรู้ จะอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลที่นำมาลง หรือติดตั้ง ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อาจจะเล่นบนแผ่น CD-Rom/DVD โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนอง ในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล
โดยมีคุณลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญ แบ่งเป็น
การนำเข้าสู่บทเรียน
การนำเสนอสาระเนื้อหา
การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมกับผู้เรียนรู้
การทดสอบประเมินผล
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) นับเป็นกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดหลักการที่สำคัญที่เรียกว่า 4 Is อันได้แก่
          1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
          2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตก ต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
          3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ สอนได้มากที่สุด
          4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. แบ่งไปตามลักษณะวิธีการนำเสนอเนื้อหา
มีผู้แบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้หลากหลาย บ้างก็ 5 แบบ 7 แบบ ซึ่งก็แตกต่างกันบ้าง คล้ายกันบ้าง ซึ่งในเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล ได้แบ่งตามลักษณะของวิธีการนำเสนอเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน เป็น 8 ประเภท ดังนี้
1.1  แบบการสอน (Instruction)เพื่อใช้สอนความรู้ใหม่แทนครู ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบ Self Study Package เป็นรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเอง จะเป็นชุดการสอนที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะในการพัฒนาที่สูงมาก เพราะจะยากเป็นทวีคูณกว่าการพัฒนาชุดการสอนแบบโมดูลหรือแบบโปรแกรมที่เป็นตำรา ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทมากในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะ IMMCAI :Interaction Multi Media CAI บน Internet
1.2 แบบสอนเสริมหรือทบทวน (Tutorial) เป็นบทเรียนเพื่อทบทวนการเรียนจากห้องเรียนหรือจากผู้สอนโดยวิธีใด ๆ จากทางไกล หรือทางใกล้ก็ตาม การเรียนมักจะไม่ใช่ความรู้ ใหม่ หากแต่จะเป็นความรู้ที่เคยได้รับมาแล้วในรูปแบบอื่น ๆแล้วใช้บทเรียนซ่อมเสริมเพื่อตอกย้ำ ความเข้าใจที่ถูกต้องและสมบูรณ์ดีขึ้น สามารถใช้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังนั้น CAI ประเภทนี้จึงไม่สามารถนำมาสอนแทนครูได้ทั้งหมด เพียงแต่นำมาใช้สอนเสริมหรือใช้ทบทวนในรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนมาแล้วในชั้นเรียนปกติ
1.3 แบบฝึกหัดและฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice) เพื่อใช้เสริมการปฏิบัติหรือเสริมทักษะ กระทำบางอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้นและเกิดทักษะที่ต้องการได้ เป็นการเสริมประสิทธิผลการเรียนของผู้เรียน สามารถใช้ในห้องเรียน เสริมขณะที่สอนหรือนอกห้องเรียน ณ ที่ใด เวลาใดก็ได้ สามารถใช้ฝึกหัดทั้งทางด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งทางช่างอุตสาหกรรมด้วย
1.4 แบบสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสถานการณ์ที่จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกล ไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอน ใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ได้ เวลาใด ก็ได้
1.5 แบบสร้างเป็นเกม (Game) การเรียนรู้บางเรื่อง บางระดับ บางครั้ง การพัฒนาเป็นลักษณะเกม สามารถเสริมการเรียนรู้ได้ดีกว่า การใช้เกมเพื่อการเรียน สามารถใช้สำหรับการเรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเสริมการเรียนในห้องเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถสอนทดแทนครูในบางเรื่องได้ด้วย จะเป็นการเรียนรู้จากความเพลิดเพลิน เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีระยะเวลาความสนใจสั้น เช่น เด็ก หรือในภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เป็นต้น
1.6 แบบการแก้ปัญหา (Problem Solving)เป็นการฝึกการคิด การตัดสินใจ สามารถใช้กับวิชาการต่างๆ ที่ต้องการให้สามารถคิดแก้ปัญหา ใช้เพื่อเสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ในการฝึกทั่วๆไป นอกห้องเรียนก็ได้ เป็นสื่อสำหรับการฝึกผู้บริหารได้ดี
1.7 แบบทดสอบ (Test) เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดความสามารถของผู้เรียน สามารถใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือใช้ตามความต้องการของครู หรือของผู้เรียนเอง รวมทั้งสามารถใช้นอกห้องเรียน เพื่อตรวจวัดความสามารถของตนเองได้ด้วย
1.8 แบบสร้างสถานการณ์เพื่อให้ค้นพบ (Discovery) เป็นการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ จากประสบการณ์ของตนเอง โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นการจัดระบบ นำล่องเพื่อชี้นำสู่การเรียนรู้ สามารถใช้เรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิม และใช้ ประกอบการสอนในห้องเรียนหรือการเรียนนอกห้องเรียน สถานที่ใด เวลาใด ก็ได้
(ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และไพบูลย์ เกียรติโกมล2539)
2.แบ่งไปตามจุดประสงค์การสร้าง
 รูปแบบจะเหมือนกับการออกแบบ บทเรียนโปรแกรม เพียงแต่ CAI สามารถที่จะก้าวข้มไปได้รวดเร็ว สามารถมีปฏิสัมพัธ์กับผู้เรียนทันทีทันใด และสามารถคำนวน กำหนดเส้นทางให้ผู้เรียน ศึกษาเรียนรู้เนื้อหา ไปตามโครงสร้าง เงื่อนไขของความรู้ โดยอัตโนมัติ โดยมีรูปแบบ 3 รูปแบบ คือ
2.1 บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง (linear program) บทเรียนชนิดนี้ มีลักษณะที่เรียบง่าย มีการเรียงลำดับเนื้อหา โดยผู้เรียนต้องเริ่มเรียนตั้งแต่เรื่องแรก สาระแรก และกิจกรรมแรก เรียงไปจนครบ ซึ่งผู้เรียนจะไม่สามารถข้ามลำดับเนื้อหาได้ บทเรียนสำเร็จรูปแบบนี้ ออกแบบง่าย ไม่ยุ่งยาก   แต่บทเรียนแบบเส้นตรงจะไม่สนองต่อผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาบางส่วน จึงไม่สามารถก้าวข้ามเนื้อหาได้
ลักษณะของการเรียนบทเรียนเป็นแบบให้ความรู้ แล้วติดตามด้วยกิจกรรมตอบคำถาม หากผู้เรียนตอบผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใด จะถูกกำหนดให้ย้อนกับไปทบทวนหรือศึกษาในเนื้อหานั้นๆก่อน จนกว่าจะสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง จึงจะมีสิทธิ์ไปศึกษาเรียนรู้ในเนื้อหาถัดไปได้
บทเรียนแบบเส้นตรงเหมาะสำหรับการเรียนรู้ที่ต้องใช้ความจำ ความเข้าใจ เป็นหลัก ไม่เหมาะกับการเรียนรู้แบบความเข้าใจ



2.2 บทเรียนสำเร็จรูปแบบสาขา (branching program) เป็นบทเรียนที่มีการจัดเนื้อหาเป็นส่วนๆ เช่นเดียวกับแบบเส้นตรง แต่จะทำการออกแบบลำดับเนื้อหา พร้อมตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน หากผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมผ่าน ก็จะมีคำสั่งให้ผู้เรียนไปศึกษาในเนื้อหาถัดไป หรือข้ามเนื้อหาบางเรื่องไป  แต่ถ้าผู้เรียนยังสับสน ไม่เข้าใจเนื้อหาพื้นฐาน ก็จะกำหนดให้ไปศึกษายังจุดที่เป็นสาระพื้นฐาน   หรือหากผู้เรียนไม่เข้าใจในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็จะกำหนดให้ไปศึกษาเฉพาะเรื่องนั้นๆ
บทเรียนแบบสาขาจะสนองต่อผู้เรียนที่มีพื้นความรู้ดี หรือมีพื้นความรู้เดิมในเรื่องที่กำลังศึกษา หากผู้ออกแบบบทเรียนได้ทำการออกแบบให้ยืดหยุ่น รองรับการข้ามเนื้อหาเมื่อผ่านการทดสอบอย่างอิสระแล้ว บทเรียนลักษณะนี้ จะตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หลากหลายระดับสติปัญญา
ลักษณะของการเรียนบทเรียนเป็นแบบให้ความรู้ ในแต่ละเรื่องแล้วทำกิจกรรมเช่นเดียวกับแบบเส้นตรง เพียงแต่ผู้เรียนมีสิทธิที่จะไม่เรียนในบางเรื่องที่มีความรู้แล้ว มีสิทธิที่จะข้ามการทำกิจกรรมในส่วนที่มีความรู้ได้ หรือผู้ออกแบบอาจออกแบบเฉพาะให้ผู้เรียนทำเฉพาะกิจกรรมโดยไม่ต้องศึกษาเนื้อหาก็ได้



      นอกจากรูปแบบบทเรียนแบบสาขาภาพบนแล้ว บทเรียนสาขายังมีรูปแบบชนิดเลือกเรียนรู้ในบางสาระเนื้อหา โดยอิสระได้อีกด้วย เหมาะสำหรับการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง ที่ไม่ต้องมีการวัดผล ประเมินผล ผู้เรียนจะศึกษาเฉพาะเนื้อหาที่สนใจ เหมาะสำหรับกระบวนการศึกษาตามอัธยาศัย



องค์ประกอบและการพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการนำเสนอเนื้อหาสาระ ที่เสมือนเป็น ตัวแทนของครู ดังนั้นในการออกแบบเพื่อสร้างสื่อ ครูผู้สอน หรือผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชานั้นๆ เป็นผู้มีส่วนร่วม หรือผู้ดำเนินการ ซึ่งควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. การนำเสนอเนื้อหา ต้องมีปริมาณพอดีกับหน้าจอแสดงผล
2. โครงสร้างสภาพแวดล้อม(ปุ่มควบคุม ขนาด สีสันและรูปแบบตัวอักษร) ต้องมีความคงที่ ลักษณะคงเดิมไม่เคลื่อนย้ายไปมา
3. สื่อที่สร้างต้องมีความเป็นมัลติมีเดีย เพื่อเร้าในการเรียนรู้ ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
4. มีการประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนโดยทันที ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ
5. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน
6. ผู้เรียนสามารถเข้าถึง เลือกทบทวนบทเรียน ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
วิธีการเรียนรู้
แม้ว่า CAI เป็นวิธีการเรียนการสอน ในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยครูสอน แต่ไม่ได้หมายความว่า CAI นี้ จะสามารถทำหน้าที่แทนครูได้ทั้งหมด ครูยังจำเป็นที่ต้องคอยแนะนำ สรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สำคัญ ครูต้องมีส่วนในการพัฒนา จัดสร้างสื่อ CAI ทั้งในขั้นการออกแบบ การเตรียมเนื้อหา เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการเรียนรู้ในเนื้อหานั้นๆ
ในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI เป็นอีกวิธีการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้ศึกษาเรียนรู้ หรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งโดยธรรมชาติของ CAI นี้ มาจากหลักการที่มีการส่งผ่านปริมาณเนื้อหาที่ละส่วน มีกิจกรรมหลากหลาย ที่สามารถตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้ มีกระบวนการย้อนกลับเพื่อแสดงผลสัมฤทธิ์ หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้
และเนื่องจาก CAI เป็นวิธีการที่วางอยู่บนสื่อที่ให้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สร้างบทเรียน จะต้องมีส่วนแนะนำการใช้บทเรียน มีส่วนช่วยเหลือที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ซึ่งต้องมาจากการออกแบบในการเข้าถึงควบคุมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ จะทำหน้าที่จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความเป็นมิตร
ซึ่งผู้ออกแบบจะต้อง มุ่งให้ผู้เรียนมากกว่าผู้สอนผู้ออกแบบบทเรียนสำเร็จรูป และผู้สอนจึงต้องจัดสภาพการเรียนให้ผู้เรียน ได้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่วางไว้ ก่อนอื่นผู้สอนควรได้คุ้นเคยกับการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นอย่างดี และบูรณาการบทเรียนสำเร็จรูปเข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนแบบอื่น เช่น การบรรยายหรือการอภิปรายได้ เป็นต้น
ก่อนเริ่มเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปครั้งแรก ผู้สอนควรอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวิธีการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เช่น เขียนคำตอบไว้ในเล่มหรือแยกต่างหากในกระดาษเขียนคำตอบและควรอธิบายให้ผู้เรียนทราบว่า คำถามในบทเรียนนั้นไม่ใช่ข้อทดสอบ ดังนั้นผู้เรียนไม่ควรกลัวว่าจะตอบผิด เพราะไม่เกี่ยวกับการให้คะแนน หรือ ให้เกรดแต่อย่างใดถ้าผู้เรียนตอบผิดโปรแกรมก็จะช่วยให้คำตอบที่ถูกต้อง บทเรียนสำเร็จรูปนั้นมีไว้เพื่อการเรียนไม่ใช่เพื่อการสอน ผู้เรียนควรได้เรียนไปได้ช้าหรือเร็วตามความสามารถของตนเอง ไม่ควรจะเร่งรัดหรือถ่วงให้ช้าโดยผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ถาม เมื่อมีข้อสงสัยอาจเกิดจากความกำกวมหรือผิดพลาดของบทเรียน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ไขบทเรียนให้ดีขึ้นไป
อีกประการหนึ่งควรมีการย้ำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความซื่อสัตย์ต่อตนเองโดยไม่แอบดูคำตอบก่อน ควรได้คิดหรือตอบคำถามด้วยตนเองก่อนที่จะดูคำตอบ การแอบดูคำตอบก่อนจะทำให้ผู้เรียนไม่ได้อะไรจากการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเพราะผู้เรียนจะเสียโอกาสในการเรียนไป

ส่วนประกอบในการจัดทำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องมีการวางแผน โดยคำนึงถึงส่วนประกอบในการจัดทำ ดังนี้
·                     บทนำเรื่อง (Title)  เป็นส่วนแรกของบทเรียน ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจ ให้ผู้เรียนอยากติดต่อเนื้อหาต่อไป
·                     คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)  ส่วนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการใช้บทเรียน การทำงานของบทเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน
·                     วัตถุประสงค์บทเรียน (Objective) แนะนำ อธิบายความคาดหวังของบทเรียน
·                     รายการเมนูหลัก (Main Menu) แสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา
·                     แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre Test) ส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด
·                     เนื้อหาบทเรียน (Information) ส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน โดยนำเสนอเนื้อหาที่จะนำเสนอ
·                     แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test) ส่วนนี้จะนำเสนอเพื่อตรวจผลวัดสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
·                     บทสรุป และการนำไปใช้งาน (Summary - Application) ส่วนนี้จะสรุปประเด็นต่างๆ ที่จำเป็น และยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน
 ลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี  มีดังนี้
          1.  สร้างขึ้นตามจุดประสงค์ของการสอน
          2.  เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
          3.  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุด
          4.  มีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล
          5.  คำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน
          6.  สร้างความรู้สึกในทางบวกกับผู้เรียน
          7.  จัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มาก ๆ
          8.  เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน
          9.  มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
          10.ใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงข้อจำกัดบางอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บนพื้นฐานของการออกแบบการสอนคล้ายกับการผลิตสื่อชนิดอื่น ๆควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม
ข้อดีของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนด้วยตัวเองได้โดยไม่จำกัดเวลา โดยไม่ต้องรอครูหรือเข้าชั้นเรียน
2.ช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหาร ครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้น เช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบ การเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษา และช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอน
3.การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถ วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
4.คอมพิวเตอร์ จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน  เนื่องจากการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลกและใหม่
5.ความสามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการ บันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ  ของผู้เรียนไว้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนขั้นต่อไปได้อย่างเที่ยงตรง
6.ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่อง  ทำให้สามารถนำมาใช้ในลักษณะของการศึกษารายบุคคลได้เป็นอย่างดี  โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้แก่ผู้เรียนแต่ละ คนและแสดงผลความก้าวหน้าให้เห็นได้ทันที
7.ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนไปตามความสามารถของตน
8.เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการคบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำมาใช้
9.หากไม่เข้าใจสามารถดูหรือเรียนซ้ำได้  บทเรียนใดเข้าใจแล้ว สามารถผ่านไปเรียนบทอื่นได้โดยไม่ต้องรอให้บทนั้นๆจบก่อน
 คุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเรียนการสอนพบว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีคุณค่าทางการสอน คือ
1. ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว เมื่อนักเรียนมีปัญหา หรือไม่เข้าใจในบทเรียนหรือเมื่อนักเรียนตอบคำถามได้ถูกต้องเครื่องจะรายงานผลให้ทราบทันที ซึ่งเป็นการกระตุ้น ให้ผู้เรียนมีความต้องการ ที่จะเรียนต่อไป
2. ลดปัญหาระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียน เพราะเป็นการเรียน แบบเอกัตบุคคลผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทันกันได้
3. ผู้เรียนที่เรียนดี จะเรียนได้เร็วกว่าการสอนปกติ และช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหา โดยการจัด โปรแกรมเสริมในส่วนที่ยังไม่เข้าใจและยังเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับนักเรียนที่เรียนเก่งให้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
4. เป็นสื่อการสอนที่ดี เพราะสื่อการสอนชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ เช่น การสร้างสถานการณ์จำลอง การเลียนแบบของจริง ตลอดจนการช่วยตัดสินใจการเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ หรือจะให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเดิมอีกก็ได้
5. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนสามารถทำได้รวดเร็ว
6. ความทันสมัยของคอมพิวเตอร์จะช่วยให้สื่อน่าสนใจยิ่งขึ้น
7. สามารถใช้สื่ออื่น ๆ ร่วมกันได้ เช่น เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
8. สามารถสื่อสาร และถ่ายโอนข้อมูลในระบบสารสนเทศได้ดี
จากคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว ทำให้แตกต่างไปจากสื่อการสอนอื่น ๆ คือ สามารถโต้ตอบ และแสดงผลลัพภ์ บางอย่างให้ผู้เรียนดูได้ทันที ทำให้น่าตื่นเต้น สนุกสนาน เร้าความสนใจให้ อยากเรียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการศึกษาผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งพอสรุปได้ว่า การใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน มีส่วนเสริมให้มีการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีกว่าการสอนแบบอื่น
ข้อเสียของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ผู้เรียนจะไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ   ลดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะผู้เรียนที่อยู่ในวัยเด็ก จะทำให้การเรียนรู้ระบบการทำงานเป็นกลุ่มลดลง ขาดพัฒนาการด้านนี้
2.การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เพราะจะไม่สามารถบังคับหรือกำหนดเวลาการเรียนให้ตัวเองได้
3.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แม้จะมีความยืดหยุ่นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้พอสมควร แต่ก็ไม่เหมือนกับการเรียนในชั้นเรียนโดยตรงกับครู ซึ่งความยืดหยุ่นของการเรียนกับครูผู้สอนโดยตรงจะมีความยืดหยุ่นอย่างมากเนื่องจากเป็นการระหว่างคนกับคน มิใช่คนกับคอมพิวเตอร์
4.ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่างๆ  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะลดลงมากแล้วก็ตาม  แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายตลอดจน การดูแลรักษาด้วย
 5.การออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้นนับว่ายังมีน้อย  เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่นๆ ทำให้โปรแกรมบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวนและขอบเขตจำกัดที่จะ นำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
6.ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน  เป็นต้นว่า  ซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของ ไอบีเอ็มไม่สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของแม็กคินทอชได้
7.การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนเองนั้น  นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา  สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง  ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
8.เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวาง โปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า  จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้  ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
9.ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่  อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียนตามขั้นตอนทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          1. ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          2. ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
          3. การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
          4. ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร

Six thinking hats คืออะไร

  
    Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้าน ๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก "การคิด" เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด...
 1. หมวกสีขาว (White Hat)
    หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะหมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยปกติเรามักจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่าง ๆ ของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่...
เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่ ตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุปโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติหรือความคิดเห็นใด ๆ
2. หมวกสีแดง (Red Hat)
     หมายถึง ความรู้สึกสัญชาตญาณและลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้ โดยฉับพลัน นั่นก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ ๆ ก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที เป็นผลจาการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที
เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ...
 3. หมวกสีดำ (Black Hat)
    หมายถึง ข้อควรคำนึงถึงสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจาการเสียเงินและพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญาและผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง ซึ่งจำเป็นต้องไตร่ครองและยับยั้งการดำเนินการ ถ้าอาจทำให้ความเสียหายหรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำเพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมกับประสบการณ์และมโนธรรมที่เคยมีมา
4. หมวกสีเหลือง (Yellow Hat)
    หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิดพลาด ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการและความกระหายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นหรือไม่
เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง พร้อมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
5. หมวกสีเขียว (Green Hat)
    หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิมและความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ความสดชื่น ผู้บริหารจะใช้หมวกสีนี้เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากแนวทางเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา
6. หมวกสีน้ำเงิน (Blue Hat) บางตำรา เรียกว่า "หมวกสีฟ้า"...
     หมายถึง การควบคุมและการบริหารกระบวนการ การคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถสวมหมวกสีน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน


------------------------------
Six thinking hats คืออะไร?...



    Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้าน ๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก "การคิด" เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด...
https://2.bp.blogspot.com/-yrbwATAtHgo/XMlfNaHx0BI/AAAAAAAAARU/1QtMON6-jHY26MQ9H2QzLNzcTbKIYbX3QCLcBGAs/s400/18.jpg

1. หมวกสีขาว (White Hat)
    หมายถึง ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะหมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยปกติเรามักจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่าง ๆ ของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่...
เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง ซึ่งได้แก่ ตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุปโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติหรือความคิดเห็นใด ๆ
2. หมวกสีแดง (Red Hat)
     หมายถึง ความรู้สึกสัญชาตญาณและลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้ โดยฉับพลัน นั่นก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ ๆ ก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที เป็นผลจาการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที
เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ...
 3. หมวกสีดำ (Black Hat)
    หมายถึง ข้อควรคำนึงถึงสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจาการเสียเงินและพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญาและผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง ซึ่งจำเป็นต้องไตร่ครองและยับยั้งการดำเนินการ ถ้าอาจทำให้ความเสียหายหรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำเพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมกับประสบการณ์และมโนธรรมที่เคยมีมา
4. หมวกสีเหลือง (Yellow Hat)
    หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์ เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิดพลาด ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการและความกระหายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นหรือไม่
เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง พร้อมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
5. หมวกสีเขียว (Green Hat)
    หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิมและความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ความสดชื่น ผู้บริหารจะใช้หมวกสีนี้เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากแนวทางเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา
6. หมวกสีน้ำเงิน (Blue Hat) บางตำรา เรียกว่า "หมวกสีฟ้า"...

     หมายถึง การควบคุมและการบริหารกระบวนการ การคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถสวมหมวกสีน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน


การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน

              มาร์ซาโน (Marzano. 2001 : 30 – 60) ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูลระดับดังนี้

ประเภทของความรู้
1.  ข้อมูล   เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ   
2.  กระบวนการ เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้   
3.  ทักษะ   เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้นกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลมี 6ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นรวบรวม  เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น
ระดับที่ 2 ขั้นเข้าใจ  เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ
ระดับที่ขั้นวิเคราะห์  เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์  เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้  
ระดับที่ขั้นบูรณาการความรู้  เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ 6 ขั้นจัดระบบแห่งตน  เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการณ์เรียนรู้และภาระ งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี   ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ.  58)
จำแนกเป็น  
1.  ทักษะการจำแนก  เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ ทั้งเหตุการณ์ เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วน
ย่อย ๆ ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้  
2.  ทักษะการจัดหมวดหมู่ เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน
3.  ทักษะการเชื่อมโยง  เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร  
4.  ทักษะการสรุปความ เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่กำหนดให้   
5.  การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...