วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การตรวจสอบทบทวน


การตรวจสอบทบทวน


          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน (Universal Design for Instruction :UDI)
การนําแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มี ความต้องหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า ผู้เรียนแต่ละคนมี ลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งการนํา UD ไปใช้ในการศึกษากเพื่อ สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน และส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton, 2008)

รูปแบบ the STUDIES Model

          รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                   S : กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(procedural knowledge) จุดหมาย การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความ คาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
                   T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill
Attitudes
                   U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการ ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือ ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational products (computers, websites, Software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
                   D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทํางาน และชีวิตประจําวัน
                   I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดย เชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
                   E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
                   S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก


แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน                                                                                   รหัสวิชา ว13101   
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยที่ 2 น้ำและอากาศ                                                                                       จำนวน 20 ชั่วโมง
เรื่อง  สมบัติทางกายภาพของน้ำ                                                                                จำนวน 3 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................................................
1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 6    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1   เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ  ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด  ป.3/1     สำรวจและอธิบายสมบัติทางกายภาพของน้ำจากแหล่งน้ำในท้องถิ่น และนำความรู้ไปใช้
                       ประโยชน์

สาระที่ 8    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1   ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด            ป.3/1   ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
                   ป.3/2   วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเอง ของ 
กลุ่มและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจ ตรวจสอบ
                   ป.3/3   เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ และบันทึกข้อมูล
        
2.  สาระสำคัญ
น้ำมีสมบัติทางกายภาพ ที่สังเกตเห็นได้ทั้งที่เป็นของเหลว  ของแข็ง  และแก๊ส  น้ำเปลี่ยนรูปร่างได้
ตามภาชนะที่บรรจุและรักษาระดับในแนวราบ  น้ำละลายสารบางอย่างได้  คุณภาพของน้ำพิจารณาจากสี  กลิ่นและความโปร่งใสของน้ำ  น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจำเป็นต่อชีวิต  ทั้งด้านการบริโภคและอุปโภค  จึงต้องใช้อย่างประหยัด
อากาศประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจน  แก๊สออกซิเจน  คาร์บอนไดออกไซด์  แก๊สอื่น ๆ รวมทั้งไอน้ำ และฝุ่นละออง  สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อากาศในการหายใจ  และอากาศยังมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย
อากาศเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า โดยอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวราบทำให้เกิดลม

3.  สาระการเรียนรู้
          ความรู้
1)  สมบัติทางกายภาพของน้ำ
2)  คุณภาพของน้ำ
3)  ความสำคัญของน้ำ
4)  การใช้น้ำอย่างประหยัด
            ทักษะ/กระบวนการ
                    1) การสังเกต
                    2) การสำรวจ
                    3) การตรวจสอบ
                    4) การจำแนกประเภท
                    5) การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
                    6) การตั้งสมมติฐาน
                    7) การทดลอง
              เจตคติ 
                    1) ความสนใจใฝ่รู้
                    2) ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น  อดทน 
                    3) ความมีเหตุผล
                    4) ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

4.  สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน  
1)  ความสามารถในการสื่อสาร
2)  ความสามารถในการคิด
3)  ความสามารถในการแก้ปัญหา
4)  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1)  ซื่อสัตย์
2)  มีวินัย
3)  ใฝ่เรียนรู้
4)  มุ่งมั่นในการทำงาน
6.  จุดประสงค์การเรียนรู้
          1.  อธิบายสมบัติทางกายภาพของน้ำได้
          2.  สรุปสมบัติทางกายภาพของน้ำได้
          3.  บันทึกและ อธิบายผลการสังเกตได้
7. กิจกรรมการเรียนรู้
          1.  นักเรียนสังเกตน้ำกับน้ำแข็งว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร  ตั้งทิ้งไว้สักครู่  แล้วร่วมกันอภิปรายตามประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้ 
- เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่  มีการแปลงหรือไม่  อย่างไร  (น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นน้ำ)
-    การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งเกิดจากสิ่งใด  (ความร้อน)
- ถ้านำน้ำไปต้ม  น้ำจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร 
2.  แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เลือกประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่ม
          3.  ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้มน้ำ  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตน้ำที่ต้มอยู่ในบีกเกอร์โดยทำเครื่องหมายบอกระดับน้ำบนบีกเกอร์ไว้  ต้มประมาณ  10  นาที  จดบันทึกผลการสังเกต 
              บีกเกอร์                                 ตะเกียงแอลกอฮอลล์                            ที่กั้นลม
4.  ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอผลการสังเกต  แล้วร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติ
กิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม  ดังนี้
     -  นักเรียนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำในบีกเกอร์เป็นอย่างไร  (ลดลง)
     -  เพราะเหตุใดน้ำในบีกเกอร์จึงมีปริมาณลดลง
     -   สิ่งที่เห็นลอยอยู่เหนือบีกเกอร์คืออะไร  (ไอน้ำ)
5.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม  โดยสรุปให้เห็นว่าน้ำมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร
                    -  น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นน้ำ  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
                    -  น้ำเปลี่ยนเป็นไอน้ำ  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
          6.  ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะของน้ำ  ซึ่งได้ข้อสรุปว่า น้ำมีอยู่ทั้งสามสถานะ  ดังนี้
              -  น้ำที่อยู่ในสถานะของแข็ง        เรียกว่า           น้ำแข็ง
              -  น้ำที่อยู่ในสถานะของเหลว       เรียกว่า           น้ำ
              -  น้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส            เรียกว่า           ไอน้ำ
8. สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.       อุปกรณ์ในการต้มน้ำ  ได้แก่  บีกเกอร์  ตะเกียงแอลกอฮอล์  ที่กั้นลม
2.       ใบกิจกรรม  น้ำมีสมบัติทางกายภาพอย่างไร  

9. การวัดและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
สังเกตพฤติกรรมนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรม 
แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับพอใช้ขึ้นไป
ตรวจผลงานเรื่อง  น้ำมีสมบัติทางกายภาพอย่างไร  
เกณฑ์ประเมินการตรวจผลงาน
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับพอใช้ขึ้นไป

10. บันทึกหลังสอน
ผลการจัดการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………............................................
………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…

ปัญหา/อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…
………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…
………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…
แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………………….........................................……
……………………………………………………………………………………………………………………………….........................................……
………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…………
                                                 
                                                                                     ( ลงชื่อ )...................................................ผู้สอน
                                                                                        (                                                   )
ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………………………….........................................……
……………………………………………………………………………………………………………………………….........................................……
………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…………
                                                 
                                                                                     ( ลงชื่อ ).............................................................
                                                                                          (                                                 )
                                                                                           หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………………………….........................................……
……………………………………………………………………………………………………………………………….........................................……
………………………………………………………………………………………………………………………….........................................…………
                                                 
                                                                                      ( ลงชื่อ )............................................................
                                                                                           (                                                )
                                                                                              ผู้อำนวยการสถานศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...