วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การตรวจสอบและทบทวน


การตรวจสอบและทบทวน


         ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การบูรณาการความรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการคิด การเผชิญสถานการณ์ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การพัฒนาทางด้านค่านิยม จริยธรรม เจตคติต่างๆ การพัฒนาทางด้านการคิด การปฏิสัมพันธ์และการทำงานเป็นกลุ่ม
รวมทั้งการปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา 
พ.ศ. 2542          

                                                  หน่วยการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                              รหัส  13101
ชั้นประถมศึกษาปีที่  3                                                 เวลา   20 ชั่วโมง
 

1.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่  1   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการ       ของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด  ว 1.2  ป.3/1  อภิปรายลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว 
ว 1.2  ป.3/2  เปรียบเทียบและระบุลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลู
ว 1.2  ป.3/3  อธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกว่าเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ป.3/4  สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และที่ดำรงพันธุ์
          มาจนถึงปัจจุบัน
สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1  เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด  ว 2.1ป.3/1  สำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 
สาระที่ 8    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด  ว 8. 1   ป.3/1   ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
                   ว 8. 1  ป.3/2   วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิด
                                          ของตนเอง ของกลุ่มและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจ ตรวจสอบ
                   ว 8. 1  ป.3/3   เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ และ
                                          บันทึกข้อมูล
                   ว 8. 1  ป.3/4   จัดกลุ่มข้อมูล เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอผล
                   ว 8. 1  ป.3/5   ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ
                   ว 8. 1  ป.3/6   แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้
                   ว 8. 1  ป.3/7   บันทึกและ  อธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง
                                          มีแผนภาพประกอบคำอธิบาย
                   ว 8. 1  ป.3/8   นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนแสดง
                     กระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ 
2.  สาระสำคัญ
  สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกัน  มีลักษณะภายนอกที่ปรากฏคล้ายคลึงกับพ่อแม่ของ
สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น  ลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
มนุษย์นำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาสายพันธุ์ของพืช
และสัตว์  สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ก็จะสูญพันธุ์ไป  สิ่งมีชีวิตที่
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้จะสามารถอยู่รอดและดำรงพันธุ์ต่อไป
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรามีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต  สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์กันกับสิ่งแวดล้อม  ทั้งกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันและกับสิ่งไม่มีชีวิต
3.  สาระการเรียนรู้
      3.1 ความรู้
1)  ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว 
2)  ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลู
3)  ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม         
4)  การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมต่างๆ
5)  สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และที่ดำรงพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน
6)   ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 
      3.2 ทักษะ/กระบวนการ
          1) การสังเกต
          2) การสำรวจ
          3) การจำแนกประเภท
          4) การลงความคิดเห็นจากข้อมูล
          5) การตั้งสมมติฐาน
          6) การทดลอง
          7) การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
      3.3 เจตคติ 
          1) ความสนใจใฝ่รู้หรือความอยากรู้อยากเห็น
          2) ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น  อดทน  และเพียรพยายาม
          3) ความมีเหตุผล
          4) ความมีระเบียบและรอบคอบ
          5) ความซื่อสัตย์
          6) ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.  สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน  
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการคิด
3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1) ซื่อสัตย์
2)  มีวินัย
3)  ใฝ่เรียนรู้
4)  มุ่งมั่นในการทำงาน
6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน
การเขียนรายงานการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน 
7.  การวัดและประเมินผล
7.1 วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
ทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ  60  ขึ้นไป
ตรวจผลงานการเขียนรายงานการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน 
แบบตรวจผลงานการเขียนรายงานการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน 
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับพอใช้ขึ้นไป

           7.2 เกณฑ์การประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงาน

                  7.2.1 เกณฑ์การให้คะแนนการเขียนรายงานการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน 

รายการการประเมิน
ระดับคุณภาพ
4(ดีมาก)
3(ดี)
2(พอใช้)
1(ปรับปรุง)
1. ความถูกต้อง
ผลงานมีวนประกอบ  ครบถ้วนเนื้อหาถูกต้อง
ผลงานมีส่วน
ประกอบครบถ้วน
เนื้อหามีข้อบกพร่อง
บ้างเล็กน้อย
ผลงานมีส่วน
ประกอบครบ
เนื้อหามีข้อ
บกพร่องมาก
ผลงานมีส่วน
ประกอบไม่ครบ
เนื้อหามีข้อ
บกพร่องมาก
2. ความสะอาด  สวยงาม
ผลงานสะอาดเรียบร้อยไม่มีรอย
ขีดลบ
ผลงานสะอาดเรียบร้อย  มีรอยขีดลบบ้างเล็กน้อย
ผลงานสะอาดเป็นส่วนน้อยไม่เรียบร้อยมีรอยขีดลบมาก
ผลงานไม่สะอาด
ไม่เรียบร้อย
มีรอยขีดลบมาก
3. ตรงต่อเวลา
ส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
ส่งงานช้ากว่ากำหนด  1  วัน
ส่งงานช้ากว่ากำหนด  2  วัน
ส่งงานช้ากว่ากำหนดเกิน 2 วัน

7.2.2 เกณฑ์การประเมินการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้

รายการประเมิน
3(ดี)
2(พอใช้)
1(ปรับปรุง)
การแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม
มีการแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่มอย่างชัดเจน  มีความรับผิดชอบงานตามบทบาทหน้าที่
 มีการแบ่งกลุ่ม  แต่สมาชิกในกลุ่มไม่ทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองเลย
ไม่มีการแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่มไม่ชัดเจนและไม่ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
การรู้จักแสดงความคิดเห็น
รู้จักแสดงความคิดเห็นดีมาก
รู้จักแสดงความคิดเห็นเป็นบางครั้ง
ไม่แสดงความคิดเห็นเลย
การทำงานตามขั้นตอน
มีการทำงานตามขั้นตอนดีมาก
ทำงานตามขั้นตอนเป็นบางอย่าง
ทำงานอย่างไม่มีขั้นตอนเลย
ปฏิบัติงานเสร็จทันเวลา
ปฏิบัติงานเสร็จทันเวลาตามกำหนดเรียบร้อยดีมาก
ทันเวลาตามที่กำหนด 
แต่งานไม่เรียบร้อย
ไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดงานไม่เรียบร้อย
ความเป็นระเบียบและสะอาด
ชิ้นงานโดยภาพรวม  ตัวอักษรอ่านง่าย  สะอาดและเป็นระเบียบสวยงาม
ชิ้นงานโดยภาพรวมอ่านง่าย  เป็นระเบียบแต่สกปรก
ชิ้นงานโดยรวมอ่านยากสกปรกมาก  ไม่เป็นระเบียบ

7.2.3 เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ดีเยี่ยม  (3)
ดี  (2)
ผ่าน (1)
มีวินัย
ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆและรับผิดชอบในการทำงานได้ด้วยตนเอง
ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆแต่ต้องมีการเตือนเป็นบางครั้ง
ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆแต่ต้องมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่
ซื่อสัตย์ สุจริต
ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์
ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง
ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ใฝ่เรียนรู้
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียน
มีส่วนร่วมในการเรียน
และกิจกรรมต่าง ๆเป็นแบบอย่างที่ดี
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เอาใจใส่ และมีความเพียรพยายามในการเรียนบ่อยครั้ง
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เอาใจใส่และมีความเพียรพยายาม
ในการเรียนเป็นบางครั้ง
มุ่งมั่น
ในการทำงาน
ตั้งใจและรับผิดชอบใน
การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้สำเร็จ
มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้สำเร็จ มีการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้สำเร็จ


8.  กิจกรรมการเรียนรู้

                          หน่วยที่ 1 ชั่วโมงที่ 1 เรื่อง ข้อปฏิบัติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
 

 จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้รู้เป้าหมายและเนื้อหาของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่ 1
2. เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียนก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์
3. เพื่อกำหนดข้อตกลง  ข้อปฏิบัติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3

กิจกรรมการเรียนรู้
          1.  ครูสนทนาซักถามความรู้เดิมเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนได้เรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  2  เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน
2.  ครูชี้แจงเป้าหมายการเรียนรู้และเรื่องที่นักเรียนจะต้องเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่ 1  ซึ่งประกอบด้วย  2  หน่วยการเรียนรู้  คือ 
-  ชีวิตสัมพันธ์และ  น้ำและอากาศ
-  หนังสือที่ต้องใช้ประกอบการเรียน  คือ  หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
          3.  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์  จำนวน  20  ข้อ 
เพื่อประเมินผลก่อนเรียน
          4.  นักเรียนแลกกันตรวจแบบทดสอบก่อนด้วยความซื่อสัตย์
5.  ครูนำสนทนากับนักเรียนโดยร่วมกันกำหนดข้อตกลง  ข้อปฏิบัติในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3
           6.  นักเรียนบันทึกข้อตกลงร่วมกันในประเด็น  ดังนี้
                - นักเรียนจะร่วมกันคิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  โดยวิธีการต่างๆ  เช่น  สืบค้น  ทดลอง  สืบเสาะ  ออกแบบ  อธิบาย  นำเสนอข้อมูล
                - การปฏิบัติงานกลุ่ม  บทบาทหน้าที่ในการทำงานกลุ่ม

สื่อและแหล่งเรียนรู้
          -  หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 
การวัดและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
ทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์ 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ชีวิตสัมพันธ์ 
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ  60  ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...