วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การตรวจสอบและทบทวน



การตรวจสอบและทบทวน

         
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ 
เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอน ที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอนในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง

การวัดและประเมินก่อนเรียน  ระหว่างเรียน  และหลังเรียน
          ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน 3 คำนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน  แต่ต่างกันที่ระยะเวลาและจุดประสงค์ของการวัดและประเมิน  3 คำนี้มีความหมายทั้งในมิติที่กว้างและแคบ  ดังนี้
          1. ก่อนเรียน 
การวัดและประเมินก่อนเรียนมีจุดประสงค์เพื่อมทราบสภาพของผู้เรียน ณ เวลาก่อนที่จะเรียน เช่น
ความรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ  ก่อนเรียนอาจจะหมายถึง
1.1  ก่อนเข้าเรียน  ซึ่งอาจจะตั้งแต่ก่อนเรียนระดับปฐมวัย หรือก่อนจะเริ่มเรียนหลักสูตรสถานศึกษานั้น
เช่น สถานศึกษาที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 1 และ 2  ก่อนเรียนในที่นี้อาจจะหมายถึงก่อนเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 เป็นต้น
1.2  ก่อนเรียนช่วงชั้น  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความสำคัญกับช่วงชั้น  ให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้น  ก่อนเรียนในที่นี้จึงหมายถึงก่อนจะเริ่มเรียนช่วงชั้นใดช่วงชั้นหนึ่ง เช่น ก่อนเรียนช่วงชั้นที่ 2 คือ ก่อนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้น
1.3  ก่อนเรียนแต่ละชั้น  ถึงแม้จะมีการกำหนดเป็นช่วงชั้น  แต่ชั้นเรียนหรือการเรียนแต่ละปีก็ยัง
มีความสำคัญ  โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา  การเรียนแต่ละชั้น/ปี อาจจะหมายถึง การเรียนกับครูคนใดคนหนึ่ง (กรณีที่ครูคนเดียวสอนนักเรียนทั้งชั้นทุกวิชาหรือเกือบทุกวิชา โดยทั่วไปจะเป็นครูประจำชั้น) หรือเรียนครูกลุ่มหนึ่ง (สอนแยกรายวิชา)  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละชั้นจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนตลอดทั้งปี
1.4  ก่อนเรียนแต่ละรายวิชา  มีลักษณะเช่นเดียวกับก่อนเรียนแต่ละชั้น  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ชั้นอาจจะวัดและประเมินในภาพรวมหลายๆ วิชา  แต่การวัดและประเมินนี้  แยกวัดและประเมินแต่ละรายวิชา  โดยทั่วไปจะสอนโดยครูแต่ละคน สำหรับระดับมัธยมศึกษา  รายวิชาส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้เป็นรายภาคเรียน
1.5  ก่อนเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้เป็นการจัดหมวดหมู่เนื้อหาในสาระการเรียนรู้เดียวกัน  โดยจัดเนื้อหาเรื่องเดียวกันหรือสัมพันธ์กันไว้ในหน่วยเดียวกัน  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละหน่วย  เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้พื้นฐานของผู้เรียนในเรื่องหรือหน่วยนั้น ซึ่งทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยนั้นได้อย่างเหมาะสม
1.6  ก่อนเรียนแต่ละแผนจัดการเรียนรู้  คือ การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละครั้ง  ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้มักจะมีสาระที่จะเรียนรู้แยกย่อยสำหรับการสอนมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีแผนการจัดการเรียนรู้
          2. ระหว่างเรียน 
          จุดประสงค์ของการวัดและประเมินระหว่างเรียน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าหรือพัฒนาการ
ของผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  จากการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน โดยเทียบกับผลการวัดและประเมินก่อนเรียน การวัดและประเมินระหว่างเรียนจะทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูด้วย  ข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างเรียนจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งผู้เรียน  ครูผู้สอน  สถานศึกษา และผู้ปกครอง  สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่แตกย่อยมาจากมาตรฐานการเรียนรู้  และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
          3. หลังเรียน 
                   จุดประสงค์ของการวัดและประเมินหลังเรียน เพื่อตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนด้านความรู้ทักษะกระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  จากการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
โดยเทียบกับผลการวัดและประเมินก่อนเรียนและระหว่างเรียน  การวัดและประเมินหลังเรียนจะทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูด้วย  ข้อมูลจากการวัดและประเมินหลังเรียนมีจุดประสงค์หลักคือใช้ในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  นอกจากนี้  การวัดและประเมินผลหลังเรียนอาจจะเป็นข้อมูลก่อนการเรียนในระดับต่อไป จึงเป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียน  และครูผู้สอน  สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสถานการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม          นักจิตวิทยาใช้คำว่า “ พฤติกรรม ” เป็นสื่อระบุถึงการกระทำอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง...